EPISODE 05ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับ จิโชไดชิ
ในฐานะสังฆราชของนิกายเท็นได เอ็นจินพยายามที่จะพัฒนานิกายเท็นไดและวัดเอ็นเรียคุจิ โดยศึกษาคำสอนจากบรมครู พระเด็นเงียวไดชิ หรือไซโช และได้ทุ่มเทอย่างสุดกำลังให้กับการเผยแผ่หลักคำสอนของนิกายเท็นไดไปสู่ผู้คนจำนวนมาก ด้วยความอนุเคราะห์จากทั้งพ่อและลูกคือ ฟูจิวาระ โนะ โยชิฟุสะ และโมโตะสึเนะ ทำให้เอ็นจินได้เข้าเฝ้าใกล้ชิดกับจักรพรรดิเซวะและได้รู้จักสนิทสนมกับนักปราชญ์ชั้นนำในสมัยนั้นได้แก่ มิโยะชิ คิโยะยูกิ และฟูจิวาระ โนะ ซุเคะโยะ ขุนนางข้าราชการหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งและให้ความช่วยเหลืออย่างดีต่อการเดินทางไปยังประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถังของเอ็นจิน ด้วยการออก “หนังสือรับรองตำแหน่งผู้สืบทอดพระธรรม ( เอกสารที่ออกโดยรัฐเพื่อรับรองการมอบบรรดาศักดิ์)” ที่เขียนบนผ้าไหมลวดลายพิเศษ และ “หนังสือเดินทางที่ออกโดยรัฐ” เพื่อใช้ในการเดินทางไปต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมีเอกสารทางประวัติศาสตร์อีกจำนวนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุคคลสำคัญต่าง ๆ ภายในนิกายเท็นได ได้แก่ “เฮ็นโจ” หนึ่งในหกกวีอมตะ“รกคะเซ็น” “เอ็นโช”และ “เอ็นนิน” เจ้าอาวาสนิกายเท็นได รวมถึง “โทคุเอน” และ ไซโชหรือพระเด็นเงียวไดชิ ในยุคบุกเบิกเขาฮิเอ กับ บรรดาพระสงฆ์ที่เป็นศิษย์ของ “โดจู” ในภูมิภาคคันโต
แม้กระทั่งช่วงบั้นปลายชีวิต เอ็นจินยังคงติดต่ออย่างใกล้ชิดกับพระสงฆ์ ข้าราชการ และพ่อค้าชาวจีน ที่ได้พบระหว่างการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับพ่อค้าชาวจีน เช่น ขอให้จัดหาพระคัมภีร์ หรือเป็นตัวกลางในการส่งสาสน์สอบถามเกี่ยวกับข้อสงสัยในหลักคำสอนไปยังพระเถระในจีน นับว่าพ่อค้าชาวจีนมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างจีนและญี่ปุ่น เรื่องราวกิจกรรมของพวกเขาปรากฏชัดใน “ชุดคำถามของเอ็นจินเกี่ยวกับหลักคำสอน” และ "คัมภีร์ไตรปิฎกแห่งปัญญาธรรมจักรอันประเสริฐ" ซึ่งได้รวบรวมไว้ใน “รวมบทกวีอำลาชาวจีนและจดหมายโต้ตอบ” โดยเฉพาะสิ่งที่บันทึกไว้เป็นพิเศษคือ ระหว่างที่เอ็นจินเดินทางไปฉางอาน ได้ล้มป่วยลงที่เมืองซูโจว และเขาได้รับการดูแลอย่างดีจากข้าราชการเมืองซูโจว ชื่อ สวี๋ จื่อ (Xu Zhi) หลังกลับญี่ปุ่นแล้ว เอ็นจินก็ยังคง ส่งข่าวคราวและของขวัญไปให้ แสดงถึงความสนิทสนมและสำนึกในบุญคุณของ สวี๋ จื่อ ที่เคยช่วยเหลือเอ็นจินไว้
นอกจากนี้ยังมีเอกสารทางประวัติศาสตร์อีกจำนวนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุคคลสำคัญต่าง ๆ ภายในนิกายเท็นได ได้แก่ “เฮ็นโจ” หนึ่งในหกกวีอมตะ“รกคะเซ็น” “เอ็นโช”และ “เอ็นนิน” เจ้าอาวาสนิกายเท็นได รวมถึง “โทคุเอน” และ ไซโชหรือพระเด็นเงียวไดชิ ในยุคบุกเบิกเขาฮิเอ กับ บรรดาพระสงฆ์ที่เป็นศิษย์ของ “โดจู” ในภูมิภาคคันโต
แม้กระทั่งช่วงบั้นปลายชีวิต เอ็นจินยังคงติดต่ออย่างใกล้ชิดกับพระสงฆ์ ข้าราชการ และพ่อค้าชาวจีน ที่ได้พบระหว่างการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับพ่อค้าชาวจีน เช่น ขอให้จัดหาพระคัมภีร์ หรือเป็นตัวกลางในการส่งสาสน์สอบถามเกี่ยวกับข้อสงสัยในหลักคำสอนไปยังพระเถระในจีน นับว่าพ่อค้าชาวจีนมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างจีนและญี่ปุ่น เรื่องราวกิจกรรมของพวกเขาปรากฏชัดใน “ชุดคำถามของเอ็นจินเกี่ยวกับหลักคำสอน” และ "คัมภีร์ไตรปิฎกแห่งปัญญาธรรมจักรอันประเสริฐ" ซึ่งได้รวบรวมไว้ใน “รวมบทกวีอำลาชาวจีนและจดหมายโต้ตอบ” โดยเฉพาะสิ่งที่บันทึกไว้เป็นพิเศษคือ ระหว่างที่เอ็นจินเดินทางไปฉางอาน ได้ล้มป่วยลงที่เมืองซูโจว และเขาได้รับการดูแลอย่างดีจากข้าราชการเมืองซูโจว ชื่อ สวี๋ จื่อ (Xu Zhi) หลังกลับญี่ปุ่นแล้ว เอ็นจินก็ยังคง ส่งข่าวคราวและของขวัญไปให้ แสดงถึงความสนิทสนมและสำนึกในบุญคุณของ สวี๋ จื่อ ที่เคยช่วยเหลือเอ็นจินไว้
เอกสารและหนังสือที่เกี่ยวข้อง
-
หนังสือรับรองตำแหน่งเด็นโตไดโฮชิ (พระอาจารย์ใหญ่ผู้สืบต่อแสงธรรม)
-
หนังสือรับรองของทางการที่ออกโดยกรมการปกครอง
-
ข้อสงสัยของเอ็นจิน
-
บทกวีอำลาและจดหมายจากผู้คนในราชวงศ์ถัง
-
แผนผังการสืบทอดธรรมะจากราชวงศ์ถังประเทศจีนสู่ประเทศญี่ปุ่น
-
คำแนะนำให้ถือศีลบริสุทธิ์ 3 ประการ
-
เอกสารพร้อมตราประทับของโทคุเอ็น
-
ตราประทับที่โทคุเอ็นมอบให้แก่เอ็นจิน
-
คัมมุกิ บันทึกความฝันที่เกิดจากการดลบันดาล / จดหมายถึงจื่อหุย หลุน ซานซาง
-
ประวัติย่อของพระเด็งเงียวไดชิ
-
บันทึกสถาบันสงฆ์ของวัดฮิเอซันในรัชสมัยโคนินปีที่ 9
-
จดหมายของพระเคโย
-
หลักธรรมคำสอนของพระสูตรเมตไตรยเสด็จขึ้นสวรรค์
-
ภาคผนวก ลายเส้นบนกระดาษขาว บันทึกรายการเอกสารและตำราต่าง ๆ