TEXT
READER

วัดโตอินที่เห็นในปัจจุบัน ได้ทำการสร้างประตูโยะซึอะชิมงตั้งอยู่ด้านหน้าผ่านบริเวณกำแพงดิน เมื่อมองเข้าไปด้านทิศตะวันตกด้านภูเขา จะเห็นวิหารคันโจโด ประตูคะระมง และวิหารไดชิโดตั้งเรียงอยู่บนเส้นตรงเดียวกัน
ประตูโยะซึอะชิมงสร้างขึ้นในปีที่ 1 ของรัชสมัยคันเอ (ค.ศ. 1624) แต่เดิมเป็นประตูแบบมีแค่ 2 เสาเรียกว่าประตูมุนะคะโดะ แต่หลังจากที่ทำเสร็จก็ได้ทำเสาเสริมเพิ่มอีก 4 เสาจึงกลายเป็นประตูแบบโยะซึอะชิมงอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ก่อนถึงประตูจะเป็นทางเดินพื้นหินมีโคมไฟหินทันไดประดับสองข้างทาง ทำให้เกิดบรรยากาศที่บริสุทธิ์เหมาะกับที่กำลังจะเข้าสู่พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์

“กำแพงดิน”

กำแพงดิน

“ประตูโยะซึอะชิมง”

ประตูโยะซึอะชิมง

ประตูที่มีเสาเสริม 4 ต้นอยู่ด้านหน้าและด้านหลังของเสาหลัก เป็นเพราะมีเสาเสริม 4 ต้น จึงเรียกประตูนี้ว่า ประตูโยะซึอะชิมง ประตูลักษณะนี้จะเห็นได้บ่อยที่ประตูด้านหน้าของวัดและศาลเจ้า โดยเสาหลักจะเป็นเสากลม และเสาเสริมจะเป็นเสาเหลี่ยมที่มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย จะเห็นประตูนี้ใช้กับหลังคาหน้าจั่วได้บ่อย ทั้งนี้ หากมีเสาหลักด้านละ 4 ต้น รวมเป็น 8 ต้น จะเรียกว่า ประตูฮัคเคียคุมง

“ประตูมุนะคะโดะ”

มีชื่อเรียกหลายชื่อ มุนะคะโดะ มุเนะคะโดะ มุนะมง มุเนะมง เป็นประตูที่ตั้งด้วยเสาหลัก 2 เสาเท่านั้น ไม่มีเสาเสริมอย่างประตูโยะซึอะชิมง

“เสาเสริม”

เสาที่ใช้เพื่อค้ำกำแพงไว้ เป็นต้น เสาเสริม

“ทันได”

เป็นตำแหน่งสูงสุดในพิธี(ริวกิ) ที่ทำการสอบโดยใช้การถามตอบเกี่ยวกับความเข้าใจทั้งหลักคำสอนและบทสวดของศาสนาพุทธ สำหรับพิธีโคกะคุริวกิของนิกายเทนไดนั้น ทันไดจะเป็นคนเลือกหัวข้อขึ้นมา และจะทำการซักถามไปยังผู้เข้าสอบ (ริชชะ) โดยจะทำการประเมินความรู้ของผู้เข้าสอบ และจะเป็นคนที่มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินว่าจะให้ผู้เข้าสอบผ่านหรือไม่

ปีที่ 1 ของรัชสมัยคันเอ (ค.ศ. 1624)