TEXT
READER

เป็นสิ่งก่อสร้างสไตล์เซนหลังเดียวที่มีในวัดมิอิเดระ แต่เดิมเป็นหอเก็บพระคัมภีร์ของวัดโคะคุโชจิ (ปัจจุบันคือวัดโตชุนจิ) ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดยะมะกุจิ และถูกย้ายมาที่นี่ในปีที่ 7 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1602) โดยไดเมียวในสมัยที่ยังรบกันในประเทศ ท่าน โมริ เทะรุโมะโตะ
ตกแต่งรายละเอียดตามสไตล์เซนแบบดั้งเดิม เช่น หน้าต่างโค้งด้านบนที่เรียกว่าคะโตมะโดะ และช่องลมลายคลื่นที่เรียกว่ายุมิรันมะที่อยู่ด้านนอกอาคาร โดยภายในอาคารมีพื้นดินโดะมะ และเพดานแผ่นไม้เรียบที่เรียกว่าคะกะมิเทนโจ เป็นต้น
ตรงกลางของภายในอาคารมีตู้รินโซซึ่งเป็นตู้เก็บพระคัมภีร์ทรง 8 เหลี่ยมหมุนรอบได้ โดยมีพระไตรปิฎกที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธไว้ครบ มีเสาตั้งไว้อยู่ด้านหน้าของช่องเก็บกล่องใส่พระคัมภีร์ที่ลงยางรักไว้ และมีทำปั้นลมปิดท้ายหลังคาหน้าจั่วทั้ง 8 ด้านซึ่งมีให้เห็นที่นี่เพียงที่เดียว ถือเป็นหอพระคัมภีร์ตามสไตล์เซนแบบโบราณในสมัยมุโระมัจจิที่ล้ำค่า

“สิ่งก่อสร้างสไตล์เซน”

เป็นสไตล์การก่อสร้างที่มีพระต่างๆของนิกายเซนนำเข้ามาจากประเทศจีนเป็นหลัก ในช่วงต้นสมัยคะมะคุระ มีชื่อเรียกอื่นว่า คะระโย

“วัดโตชุนจิ”

เป็นวัดของสายวัดเคนนินจิ นิกายรินไซ ที่อยู่ที่มิซุโนะอุเอะ เมืองยะมะกุจิ โดยได้ทำการย้ายจากฮะกิมาไว้ในสถานที่ปัจจุบันในปีที่ 4 ของรัชสมัยเมจิ (ค.ศ. 1871) ก่อนหน้านั้นจะอยู่ที่วัดโคะคุโชจิที่โออุจิ โมะริฮะรุ (ค.ศ. 1377~1431) ผู้มียศเป็นผู้ดูแลพื้นที่เป็นผู้สร้างจนถึงปีที่ 3 ของรัชสมัยบุนคิว (ค.ศ. 1863) ในปัจจุบันก็ยังมีหินฐานเสาของหอพระไตรปิฎกที่ย้ายมาที่วัดมิอิเดระเหลืออยู่ที่วัดโตชุนจิ

“โมริ เทะรุโมะโตะ”

ขุนศึกสมัยอะซุจิโมะโมะยะมะ เป็นหลานของโมะโตะนะริ และเป็นบุตรของทะคะโมะโตะ เริ่มแรกรับใช้ให้กับอะชิคะกะ โยะชิอะกิ และเป็นฝ่ายตรงข้ามกับโอะดะ โนะบุนะกะ แต่หลังจากเหตุการณ์ฮอนโนจิโนะเฮน ได้คืนดีกับโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ และได้เป็น 1 ใน 5 ของขุนนางที่ปรึกษาใหญ่ โดยในการรบเซะคิกะฮะระเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายตะวันตก หลังจากนั้นจึงถูกลดเมืองที่ทำการปกครองลงเหลือแค่ 2 เมือง คือเมืองซุโอ และนะกะโตะ (ค.ศ. 1553~1625)

“คะโตมะโดะ”

คะโตมะโดะ

เป็นสไตล์เซน จะมีให้เห็นอยู่มากที่ช่องลม(รันมะ)ของประตูซังคะระโตะ หรือในอาคารแบบโชะอินซึคุริ เป็นต้น โดยจะเรียกว่าฮะนะรันมะด้วยเพราะจะทำรูปทรงดอกไม้(ฮะนะ) ประกอบเข้าอยู่ในลายที่ละเอียดสวยงามที่เรียกว่าคุมิโคะด้วย งานทำคุมิโคะเหล่านี้จะเรียกว่า "ฮะนะคุมิโคะ" หรือ "ฮะนะโคะ"

“ยุมิรันมะ”

ยุมิรันมะ

เป็นช่องลมรันมะที่นำเอาแผ่นไม้โค้งบางมาวางเรียงซ้อนกัน จะเรียกว่า นะมิรันมะ ด้วย

“คะกะมิเทนโจ”

คะกะมิเทนโจ

เป็นเพดานเรียบที่นำเอาแผ่นไม้มาเรียงต่อกันในแบบสไตล์เซน

“ตู้รินโซ”

ตู้รินโซ

อยู่ใจกลางของหอ โดยเป็นการทำแกนไว้ตรงกลางและมีชั้นเก็บม้วนพระคัมภีย์ 8 ด้าน โดยเป็นที่จัดเก็บพระไตรปิฎกอิซไซเคียว และสามารถหมุนตู้ได้ตามต้องการ กล่าวกันว่าฟุไตชิ ในยุคราชวงศ์เหนือใต้ของจีนเป็นผู้เริ่มทำขึ้น มีชื่อเรียกอื่นว่า เทนรินโซ

“พระไตรปิฎก”

เป็นชื่อเรียกรวมของพระไตรปิฎกทั้ง พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และรวมถึงหนังสือบรรยายประกอบด้วย มีชื่อเรียกอื่นว่า ไดโซเคียว

“กล่องใส่พระคัมภีร์ที่ลงยางรัก”

กล่องใส่พระคัมภีร์ที่ลงยางรัก

“ปั้นลมปิดท้ายหลังคาหน้าจั่ว”

ปั้นลมปิดท้ายหลังคาหน้าจั่ว

โดยทั่วไป เป็นชื่อเรียกปั้นลมที่เป็นส่วนที่ปิดท้ายโครงสร้างของหลังคาหน้าจั่ว

สมัยมุโระมัจจิ