TEXT
READER

ทำการเก็บระฆังที่สร้างขึ้นในสมัยนารา และเป็นระฆังที่ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญเก็บไว้อยู่ และเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงประวัติวัดมิอิเดระที่ผ่านภัยมาหลายต่อหลายครั้ง ระฆังนี้เป็นระฆังที่อยู่ในตำนานชื่อดังที่เล่าไว้ว่า มุซะชิโบเบงเคเป็นคนชิงไปจากวัดมิอิเดระและลากขึ้นไปบนเขาฮิเอซัง โดยทั่วไปจะเรียกว่า “ระฆังที่นักรบเบงเค ลากขึ้นไปไว้บนเขาฮิเอะซัง” นอกจากนั้นยังเป็นระฆังวิเศษที่ปรากฎในตำนานต่างๆเช่น ตำนาน “ปราบตะขาบยักษ์” โดยทะวะระโนะโทตะฮิเดะซะโตะ เป็นต้น
ในแผนผังเก่าวัดออนโจจิที่เรียกว่า “ออนโจจิเคไดโคะซุ” ที่เขียนขึ้นในช่วงท้ายของสมัยคะมะคุระก็มี “วิหารระฆัง” วาดไว้อยู่ตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งในปัจจุบันคือด้านตะวันตกของพระอุโบสถคองโด วิหารที่เห็นอยู่ปัจจุบันนี้ได้ถูกซ่อมแซมใหญ่ด้วยวัสดุจากวิหารระฆังเก่าในปีที่ 5 ของรัชสมัยโชวะ (ค.ศ. 1930)

“สมัยนารา”

เป็นสมัยที่เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เฮโจเคียว ซึ่งที่นั่นคือ นารา โดยเป็นสมัยที่ยาวนานกว่า 70 ปี (710~784) มีจักรพรรดิทั้งหมด 7 ท่าน คือ เกนเม, เกนโช, โชมุ, โคเคน, จุนนิน, โชโทะคุ, และโคนิน สำหรับประวัติศาสตร์ด้านศิลปะ จะเรียกช่วงครึ่งแรกของสมัยนาราว่า สมัยฮะคุโฮ และเรียกช่วงครึ่งหลังว่า สมัยเทมเปียว และมีชื่อเรียกอย่างอื่นว่า สมัยเมืองนารา

“ระฆัง”

ระฆัง

บอนโช เป็นชื่อเรียกระฆังที่ใช้ในวัด เมื่อเทียบกับระฆังที่เป็นเครื่องดนตรีโบราณของจีน ส่วนมากจะแขวนอยู่ในหอระฆัง และมีค้อนไม้ไว้ตี

“มุซะชิโบเบงเค”

เป็นพระในช่วงต้นของสมัยคะมะคุระ โดยมีชื่อตอนเด็กว่า โอะนิวะคะมะรุ เป็นบุตรของคุมะโนะเบตโต โดยมีการเล่าสืบกันมาเป็นตำนานทั้งใน หนังสือ "กิเคคิ", บทร้องโยะเคียคุ, โคะวะคะบุนเคียคุ และอื่นๆ ว่ามีชื่อเรียกว่ามุซาชิโบ และอาศัยอยู่บริเวณเขตตะวันตกของเขาฮิเอซัง และได้เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อในการรบเพื่อรับใช้มินะโมะโตะ โนะ โยะชิซึเนะ และก็ภักดีแม้โยะชิซึเนะอยู่ในช่วงที่ตกต่ำ เขาช่วยให้โยะชิซึเนะรอดพ้นจากอันตรายที่ด่านเข้าออกอะทะคะ และเขาเสียชีวิตในการรบที่แม่น้ำโคะโระโมะ (~1189)

“เขาฮิเอซัง”

อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเกียวโต เป็นภูเขาที่อยู่ในแนวเขตระหว่างจังหวัดเกียวโตและชิกะ เป็นภูเขาที่มีชื่อเสียงเพราะถือเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ทำหน้าที่คุ้มครองราชวงศ์มาแต่ในอดีต มียอดเขาสูงอยู่ 2 ที่ โดยยอดสูงฝั่งตะวันออกจะเรียกว่า โอฮิเอ หรือ เขาโอดะเคะ(848 เมตร) และยอดสูงฝั่งตะวันตกจะเรียกว่า เขาชิเมดะเคะ (839 เมตร) โดยบริเวณกลางเขาด้านตะวันออกจะมีวัดเอนเรียคุจิซึ่งเป็นวัดสำนักใหญ่ของนิกายเทนไดชูตั้งอยู่

“ทะวะระโนะโทตะฮิเดะซะโตะ”

เป็นคนในตระกูลที่มีอิทธิพลในชิโมะซึเคะในช่วงกลางสมัยเฮอัน กล่าวกันว่าเป็นลูกหลานของฟุจิวะระโนะอุโอะนะที่มีตำแหน่งซะไดจินขุนนางชั้นสูง ตัวท่านเองก็มีตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการของเมืองชิโมะซึเคะ และจากผลงานในปีที่ 3 ของรัชสมัยเทงเกียว (ค.ศ. 940) ที่สามารถปราบไทระโนะมะซะคะโดะในการทำกบฏได้สำเร็จ จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองชิโมะซึเคะ มีตำนานมากมายเกี่ยวกับตัวท่านว่าเป็นคนที่ถนัดในการใช้ธนู สามารถปราบตะขาบยักษ์บนเขามิคะมิ เป็นต้น ไม่ทราบประวัติปีเกิดและตาย

“สมัยคะมะคุระ”

เป็นสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 150 ปี ตั้งแต่มินะโมะโตะโนะโยะริโทะโมะก่อตั้งรัฐบาลปกครองที่คะมะคุระ จนถึงการเสียชีวิตของโฮโจ ทะคะโทะคิ ในปีที่ 3 ของรัชสมัยเกนโค (ค.ศ. 1333)

“ออนโจจิเคไดโคะซุ”

ออนโจจิเคไดโคะซุ

ภาพวาดแผนผังวัดบนม้วนภาพชุด 5 แผ่นโดยมีภาพของ "ส่วนด้านเหนือ" "ส่วนตรงกลาง" "ส่วนด้านใต้" "ซังเบชโชะ(3วัดในสำนัก)" และ "วัดเนียวอิจิ" โดยนำ "จิมอนเดนคิโฮะโระคุ" เป็นต้นซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับวัดมาใช้อ้างอิง และวาดขึ้นเพื่อบันทึกเกี่ยวกับวัดในช่วงปลายสมัยคะมะคุระ ถือเป็นข้อมูลอ้างอิงที่มีค่าที่แจ้งตำแหน่งของอาคารต่างๆของวัดมิอิเดระในญี่ปุ่นยุคกลาง จัดเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศ, ทำขึ้นในสมัยคะมะคุระ ในช่วงศตวรรษที่ 14

“วิหารระฆัง”

วิหารระฆัง

หอระฆัง

สมัยใหม่