TEXT
READER

“อะคะ” หมายถึงน้ำที่ใช้สรงพระ ด้านในอาคารมีน้ำศักดิ์สิทธิ์ธรรมชาติไหลออกมาจากร่องหิน กล่าวกันว่าเป็นน้ำที่นำไปใช้ทำเป็นน้ำร้อนอาบครั้งแรกให้กับองค์จักรพรรดิ 3 พระองค์หลังประสูติ คือ องค์จักรพรรดิเทนจิ องค์จักรพรรดิเทนมุ และองค์จักรพรรดิจิโต ซึ่งบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ถือเป็นที่มาของชื่อ “วัดมิอิเดระ”
อะคะอิยะสร้างขึ้นในปีที่ 5 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1600) เป็นอาคารที่สร้างขึ้นครอบบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีความสวยงามโดดเด่นของศิลปะ ที่ละเอียดจนถึงส่วนปลีกย่อยที่แสดงความเป็นสมัยโมะโมะยะมะ โดยเฉพาะแท่นรองน้ำหนักแกะสลักที่เรียกว่าคะเอะรุมะตะด้านหน้าอาคาร เป็นงานแกะสลักรูปมังกรที่กล่าวสืบทอดกันมาว่าเป็นผลงานของ ฮิดะริจินโกะโระ โดยมีตำนานว่ามังกรตัวนี้พอถึงเวลากลางคืนจะออกไปอาละวาดที่ทะเลสาบบิวะโคะ ฮิดะริจินโกะโระจึงปราบมังกรตัวนี้เองโดยใช้ตะปูขนาดใหญ่ตอกเข้าที่ดวงตา

“น้ำศักดิ์สิทธิ์ธรรมชาติไหลออกมาจากร่องหิน”

น้ำศักดิ์สิทธิ์ธรรมชาติไหลออกมาจากร่องหิน

“องค์จักรพรรดิเทนจิ”

องค์จักรพรรดิช่วงกลางศตวรรษที่ 7 ได้ทำการร่วมมือกับ นะคะโตะมิ โนะ คะมะทะริ ทำการโค่นล้มตระกูลโซะกะ และเป็นผู้ทำการปฏิรูปไทคะในฐานะมกุฎราชกุมาร และหลังจากที่จักรพรรดินีไซเม ซึ่งเป็นมารดาเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 661 ก็ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ เมื่อถึงปีค.ศ. 667 จึงได้ย้ายไปเมืองโอซึโนะมิยะ ในเขตจังหวัดโอมิ และได้ขึ้นครองราชย์ในปีถัดไป โดยเป็นผู้ปฏิรูปการปกครองภายใน โดยจัดทำ โคโกะเนนจะคุ (ทะเบียนครัวเรือน) และกำหนดกฎหมายโอมิ (ครองราชย์ ปีค.ศ. 668~671) (626~671)

“องค์จักรพรรดิเทนมุ”

องค์จักรพรรดิในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 โดยท่านมีชื่อว่า อะมะโนะนุนะฮะระโอะคิ โนะ มะฮิโตะ และ โออะมะ โดยเป็นพระโอรสคนที่ 3 ของจักรพรรดิโจะเม โดยได้ออกบวชและย้ายไปอยู่ที่โยะชิโนะในปีค.ศ. 671 และหลังจากที่จักรพรรดิเทนจิเสด็จสวรรคต ท่านชนะในเหตุการณ์รบจินชินโนะรันในปี 672 และได้ขึ้นครองราชย์ในปีถัดมาที่พระราชวังคิโยะมิฮะระ เมืองอะซุคะ โดยเป็นผู้กำหนดนามสกุลขึ้นใหม่ (ยะคุซะ โนะ คะบะเนะ) ปรับแก้ไขขั้นตำแหน่ง กำหนดกฎหมาย และเริ่มทำการสำรวจรวบรวมประวัติศาสตร์ของประเทศ (ครองราชย์ ปีค.ศ. 673~686) (~686)

“องค์จักรพรรดิจิโต”

องค์จักรพรรดินีในช่วงปลายศตวรรษที่ 7 เป็นพระธิดาคนที่ 2 ของจักรพรรดิเทนจิ และเป็นจักรพรรดินีของจักรพรรดิเทนมุ โดยท่านมีชื่อว่า ทะคะมะโนะฮะระฮิโระ โนะ ฮิเมะ หรือ อุโนะโนะซะระระ หลังจากที่จักรพรรดิเทนมุเสด็จสวรรคต ก็ไม่ได้ขึ้นครองราชย์ และหลังจากที่เจ้าชายคุซะคะเบะสิ้นพระชนม์ ท่านจึงได้ขึ้นครองราชย์ โดยมีพระราชวังอยู่ที่ฟุจิวะระโนะมิยะ เมืองยะมะโตะ เมื่อท่านสละราชบัลลังก์ให้กับจักรพรรดิมงมุ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นจักรพรรดิไดโจ(เป็นชื่อของจักรพรรดิหลังจากที่มีการสละราชบัลลังก์) (ครองราชย์ ปีค.ศ. 690~697) (645~702)

“คะเอะรุมะตะ”

คะเอะรุมะตะ

เป็นส่วนที่วางขั้นระหว่างไม้ 2 ท่อนที่ขนานกัน โดยจะมีลักษณะงอโค้งออกไปด้านนอกมีรูปทรงเหมือนกับง่ามขาของกบ และมีอีกอย่างที่สันนิษฐานกันก็คือมาจากปลายดอกธนูที่มีรูปทรงเป็น 2 ง่าม ที่เรียกว่าคะริมะตะ

“ฮิดะริจินโกะโระ”

เป็นช่างไม้เชี่ยวชาญงานในวัดและศาลเจ้า (มิยะไดคุ) ในช่วงต้นของสมัยเอะโดะ เป็นช่างมีฝีมือในด้านงานก่อสร้างและงานแกะสลัก มีเรื่องเล่าขานเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่า "แมวนอนหลับ" ที่อยู่ที่ศาลเจ้าโตโชกู ที่นิคโค ก็เป็นผลงานของเขา แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน ไม่ทราบประวัติปีเกิดและตาย, แมวนอนหลับ (เนะมุริ เนะโคะ) ที่อยู่ที่ศาลเจ้าโตโชกู ที่นิคโค

“งานแกะสลักรูปมังกร”

งานแกะสลักรูปมังกร
สมัยโมะโมะยะมะ (ปีที่ 5 ของรัชสมัยเคโจ ค.ศ. 1600)