TEXT
READER

สร้างขึ้นในปีที่ 7 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1602)โดยพระจุซังกู โดโจ เจ้าอาวาสของวัดมิอิเดระ เป็นหอระฆังที่แตกต่างกับที่หอระฆังอื่นคือ เป็นอาคารที่มีเสา 6 ต้น กำแพงรอบหอด้านล่างเป็นกำแพงกระดาน ด้านบนเป็นไม้ระแนง หลังคาแบบหน้าจั่ว มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ
ด้านในหอมีระฆังแขวนไว้ เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นระฆังตีตอนกลางคืนของมิอิ ที่เรียกว่า “มิอิ โนะ บังโช” ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดวิวทัศน์ชื่อดังของเขตโอมิ มีตำนานเล่าต่อกันมาว่าเป็น “ระฆังที่นักรบเบงเค ลากขึ้นไปบนเขาฮิเอซัง” เป็นระฆังเสียงดีถือเป็นหนึ่งในสามระฆังชื่อดังของญี่ปุ่น ในวันสุดท้ายของทุกปีจะมีผู้คนเป็นจำนวนมากเข้ามาไหว้พระและฟังเสียงระฆังที่จะตีหลังเที่ยงคืนของวันปีใหม่ เพื่ออธิษฐานขอพรในวันแรกของปี

“เจ้าอาวาส”

เป็นชื่อตำแหน่งของหัวหน้าผู้ดูแลและเป็นตัวแทนของวัดมิอิเดระ โดยจะมีชื่อเรียกอื่นว่า มิอิโจริ หรือจิมอนโจริ ในปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสคนที่ 163 ตั้งแต่มีการแต่งตั้งท่านจิโชไดชิ ในปีที่ 1 ของรัชสมัยโจกัง (ค.ศ. 859) โดยชื่อโจรินี้มาจากชื่อตำแหน่งขุนนางของประเทศจีน

“พระจุซังกู โดโจ”

เป็นบุตรคนที่ 3 ของตระกูลโคะโนะเอะ ทะเนะอิเอะ ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นสูงของจักรพรรดิ เมื่อออกบวชที่วัดมิอิเดระ เข้ารับตำแหน่งมงเซคิ(ตำแหน่งพระที่มาจากตระกูลชั้นสูง)ที่วัดโชโกะอิน ตำแหน่งโจริ(เจ้าอาวาส)ที่วัดมิอิเดระ และตำแหน่งมงเซคิที่วัดโชโคอิน โดยได้รับความไว้วางใจเป็นอย่างยิ่งจากโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ให้มาเป็นเจ้าอาวาสที่หอพระใหญ่ไดบุซึเดน วัดโฮโคจิในเกียวโต ซึ่งเป็นวัดที่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิเป็นคนสร้างขึ้น และยังถือเป็นบุคคลที่เด่นด้านวัฒนธรรมของสมัยโมะโมะยะมะที่ถนัดทั้งเรื่องแต่งบทกลอนญี่ปุ่น(วะคะ) และด้านวรรณกรรมด้วย (1544~1608)

“หลังคาแบบหน้าจั่ว”

หลังคาแบบหน้าจั่ว

หลังคาแบบหน้าจั่ว(คิริซุมะ) และโดยทั่วไปจะรวมถึงอาคารที่มีหลังคาแบบนี้ด้วย โดยมีชื่อเรียกอื่นว่า อิระคะ ซุคุริ

“มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ”

มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ

หลังคาที่ใช้เปลือกของต้นสนฮิโนะคิโดยใช้ตะปูทำจากไม้ไผ่ยึดไว้

“แปดวิวทัศน์ชื่อดังของเขตโอมิ”

แปดวิวทัศน์ชื่อดังที่มีอยู่ทางตอนใต้ของทะเลสาบบิวะโคะ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากแปดวิวทัศน์ของ Xiaoxiang ในประเทศจีน วิวนั้นได้แก่ หิมะยามเย็นที่ฮิระ, เรือกลับท่าที่ยะบะเซะ, พระจันทร์ฤดูใบไม้ร่วงที่อิชิยะมะ, แสงยามเย็นที่เซะตะ, เสียงระฆังตอนกลางคืนที่วัดมิอิเดระ, ห่านบินกลับที่คะตะตะ, สายลมพัดในวันที่ฟ้าใสที่อะวะซุ, ฝนกลางคืนที่คะระซะคิ

“มิอิ โนะ บังโช”

มิอิ โนะ บังโช

“ระฆัง”

ระฆัง

บอนโช เป็นชื่อเรียกระฆังที่ใช้ในวัด เมื่อเทียบกับระฆังที่เป็นเครื่องดนตรีโบราณของจีน ส่วนมากจะแขวนอยู่ในหอระฆัง และมีค้อนไม้ไว้ตี

“ระฆังที่นักรบเบงเค ลากขึ้นไปบนเขาฮิเอซัง”

ระฆังที่นักรบเบงเค ลากขึ้นไปบนเขาฮิเอซัง

“สามระฆังชื่อดังของญี่ปุ่น”

เรียก "วัดมิอิเดระสำหรับเสียง" เพราะเป็นระฆังที่มีเสียงดี, เรียก "วัดเบียวโดอินสำหรับรูปทรง" เพราะรูปทรงและการตกแต่งที่สวยงาม, และเรียก "วัดจินโกะจิสำหรับตัวอักษรจารึก" เพราะมีศิลปินชั้นนำในสมัยนั้น ทั้งบทกลอน การจารึก และการเขียนมารวมตัวกันในตอนสร้างระฆัง ซึ่งทั้งหมดถือเป็น "สามระฆังชื่อดังที่สุด" ที่เป็นระฆังโด่งดังของประเทศญี่ปุ่น

“ระฆังที่จะตีหลังเที่ยงคืนของวันปีใหม่”

ระฆังที่จะตีหลังเที่ยงคืนของวันปีใหม่
สมัยโมะโมะยะมะ (ปีที่ 7 ของรัชสมัยเคโจ ค.ศ. 1602)