“เรือนรับแขกวัดคันกะคุอิน”
“สมัยโมะโมะยะมะ”
เป็นช่วงสมัยหนึ่ง ที่มีระยะเวลาประมาณ 20 ปี ตั้งแต่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิมีอำนาจในการปกครองในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 16 ในด้านของประวัติศาสตร์ศิลปะถือเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากยุคกลางมาสู่ยุคปัจจุบันที่นับตั้งแต่สมัยอะซุจิโมะโมะยะมะมาจนถึงช่วงต้นสมัยเอะโดะ โดยเฉพาะการพัฒนาของสิ่งก่อสร้างต่างๆทั้งปราสาท บ้านพักขุนนาง วัดและศาลเจ้า รวมถึงภาพวาดบานประตูเลื่อนในอาคารเหล่านั้นด้วย และแพร่ขยายมาถึงภาพวาดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเทคนิคฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผา งานเคลือบภาชนะ และงานย้อมทอผ้า เป็นต้นด้วย
“คะโน มิซึโนะบุ”
เป็นบุตรคนแรกของคะโนะ เอโทะคุ (ค.ศ. 1543-1590) ซึ่งเป็นผู้นำของจิตรกรในสมัยโมะโมะยะมะ โดยทั้งตัวเค้าเองและบิดา เอโทะคุรับใช้ให้กับโอะดะ โนะบุนะกะ และโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ในการทำผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ผลงานส่วนใหญ่นั้นได้สูญเสียไป โดยผลงานที่อยู่ในเรือนรับแขกวัดคันกะคุอินที่ตั้งอยู่ในวัดมิอิเดระนั้น ถือเป็นผลงานโดดเด่นที่แสดงถึงสไตล์งานของมิซึโนะบุเอาไว้ (ค.ศ. 1565~1608)
“โอะดะ โนะบุนะกะ”
เป็นแม่ทัพที่มีชื่อเสียงในสมัยเซ็นโกคุ (สมัยที่ยังทำการสู้รบกันในประเทศ) มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เมืองมิโนะ (จังหวัดกิฟุในปัจจุบัน) โนะบุนะกะเดินทางมายังเกียวโตในเดือนกันยายน ปีที่ 11 ของรัชสมัยเอโระคุ (ค.ศ. 1568) โดยมีความพยายามที่จะรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวและเป็นคนพาอะชิคะกะ โยะชิอะคิ ซึ่งเป็นคนในตระกูลโชกุนมุโระมัจจิมา เพื่อให้ขึ้นเป็นโชกุนคนต่อไป โดยได้ทำการตั้งค่ายที่วัดมิอิเดระเมื่อวันที่ 24 กันยายน ก่อนที่จะเดินทางเข้าเกียวโต ในครั้งนั้นได้ใช้วัดโคโจอินเป็นที่พักของโยะชิอะคิ และโนะบุนะกะก็ได้เข้าพักที่วัดโกะคุระคุอิน ต่อมาเขาได้สร้างปราสาทอะซึจิในเมืองโอมิ (ปัจจุบันคือ จังหวัดชิกะ) และได้พยายามที่จะรวมประเทศให้อยู่ภายใต้การปกครองของตน แต่ก็ต้องล้มเหลวในที่สุดเพราะถูกขุนศึกของตน อะเคะจิ มิซึฮิเดะหักหลัง (การก่อกบฎในครั้งนั้นเรียกว่า ฮอนโนโนะเฮน)(ค.ศ. 1534 ~ 1582)
“โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ”
เป็นแม่ทัพในสมัยอะซุจิโมะโมะยะมะ โดยเริ่มต้นจากการเป็นผู้รับใช้ของโอะดะ โนะบุนะกะ และเสนอชื่อขึ้นเป็นผู้สืบทอดคนแรกหลังจากที่โนะบุนะกะเสียชีวิตในเหตุการณ์ฮอนโนจิโนะเฮน ที่เกิดขึ้นในปีที่ 10 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1582) และสามารถชนะฝ่ายศัตรู ทำให้รวมประเทศได้ โดยฮิเดโยชิได้เริ่มก่อสร้างปราสาทโอซาก้าในปีที่ 11 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1583) โดยปราสาทดูจากภายนอกมี 5 ชั้นและมี 8 ชั้นด้านใน ที่คู่ควรกับผู้ที่สามารถรวบรวมประเทศให้เป็นหนึ่งได้ และในสมัยนั้นที่เรียกฮิเดโยชิว่าโฮไทโค ก็ถือเป็นสมัยที่วัฒนธรรมโมะโมะยะมะที่สวยงามหรูหราอยู่ในช่วงรุ่งเรือง ทั้งพิธีชงชา และภาพวาดของกลุ่มคะโน
ความสัมพันธ์กับวัดมิอิเดระนั้นถือว่าดี แต่ในช่วงบั้นปลายชีวิต ปีที่ 4 ของรัชสมัยบุนโระคุ (ค.ศ. 1595) ได้มีคำสั่งให้ยึดและปิดวัดมิอิเดระอย่างกะทันหัน และหลังจากฮิเดโยชิเสียชีวิตไปในเดือนสิงหาคม ปีที่ 3 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1598) ท่านคิตะโนะมังโดะโคะโระ ภรรยาเอกของฮิเดโยชิ ก็ได้เป็นผู้ฟื้นฟูวัดมิอิเดระ
“คะโน เอโทะคุ”
เป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงใสมัยอะซุจิโมะโมะยะมะ มีความโดดเด่นในการวาดภาพในรูปแบบใหม่ที่สะท้อนถึงสังคมชีวิตในสมัยนั้น ได้รับความสนใจจากทั้งโอะดะ โนะบุนะกะ และโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ จึงได้เป็นผู้วาดภาพทั้งในปราสาทอะซึจิ, จุระคุได, และปราสาทโอซาก้า เป็นต้น เอโทะคุมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับโคะโนะเอะ ซะคิฮิซะ ซึ่งเป็นหัวหน้าตระกูลโคะโนะเอะ หนึ่งในห้าตระกูลชั้นสูง ซึ่งน้องชายแท้ๆของซะคิฮิซะ คือโดโจ เจ้าอาวาสวัดมิอิเดระ จึงทำให้เข้าใจได้ว่าทำไม คะโน มิซึโนะบุซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของเอโทะคุจึงได้เป็นผู้วาดฝาผนังของเรือนรับแขกวัดคันกะคุอิน (ค.ศ. 1543 ~ 1590)
“ปราสาทอะซึจิเ”
โอะดะ โนะบุนะกะ เป็นผู้สร้างปราสาทอะซึจิ โดยใช้เวลา 3 ปีในการสร้างตั้งแต่ปีที่ 4 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1576) ปราสาทตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ทั้งหมดของภูเขาอะซึจิซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของทะเลสาบบิวะได้ อยู่ในเมืองโอมิฮะจิมัง (ปัจจุบันคือ จังหวัดชิกะ) โดยถือเป็นปราสาทที่แข็งแกร่ง มีชั้นกำแพงโอบล้อมหอปราสาทสูงและมีขนาดใหญ่ (มีหออยู่ตรงกลาง) เป็นแห่งแรกของญี่ปุ่น ภายในตกแต่งด้วยภาพวาดฝาผนังที่งดงามโดยช่างวาดภาพชื่อดังอย่างคะโน เอโทะคุ เป็นต้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าโนะบุนะกะที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่เหมือนใคร และถือเป็นปราสาทที่มีชื่อเสียงและสง่าตระการตาของสมัยอะซุจิโมะโมะยะมะ ปราสาทนี้ถูกเผาทำลายหลังจากที่โนะบุนะกะเสียชีวิตลงจากการถูกก่อการกบฎที่วัดฮอนโนจิในปีที่ 10 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1582) โดยปัจจุบัน บริเวณที่เคยเป็นปราสาทมาก่อนนั้นถูกกำหนดให้เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์พิเศษของประเทศญี่ปุ่น
“ภาพวาดดอกไม้และต้นไม้ 4 ฤดู”
“ประตูบานเลื่อนไม้ที่เรียกว่า ไมระโดะ”