TEXT
READER

ใน 2 ห้องที่อยู่ในแถวด้านทิศใต้ของเรือนรับแขกวัดโคโจอิน มีภาพวาดบนบานประตูเลื่อนที่แสดงเอกลักษณ์ของศิลปะช่วงครึ่งหลังของสมัยโมะโมะยะมะที่วาดขึ้นโดยศิลปินกลุ่มคะโน ในห้องใหญ่อิจิโนะมะมีภาพต้นสนและน้ำตกที่เรียกว่า “มัสซึนิทะคิซุ” ที่วาดบนฉากสีทอง ที่เป็นภาพวาดที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นภาพวาดบนบานประตูเลื่อนของสมัยโมะโมะยะมะ และที่ชั้นบนของแท่นเขียนหนังสือก็มีภาพชุดเดียวกัน โดยเป็นภาพดอกเบญจมาศ “คิคคะซุ” โดยที่วัดได้เล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นผลงานที่คล้ายกับของคะโน ซังระคุ
ฉากกั้นห้อง 12 แผ่นที่ห้องนิโนะมะ มีภาพวาดของดอกไม้และนกที่แสดงความเป็น 4 ฤดูที่วาดบนฉากสีพื้น ฉาก 4 แผ่นที่อยู่ด้านทิศเหนือแสดงภาพของฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน โดย 2 แผ่นซ้ายเป็นภาพต้นสน และ 2 แผ่นขวาเป็นภาพดอกโบตั๋นดอกใหญ่อยู่ริมน้ำ และมีนกนางแอ่นบินอยู่ ส่วนฉาก 4 แผ่นที่อยู่ด้านทิศตะวันตกแสดงภาพของฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว มีภาพดอกคาเมลเลีย ดอกเบญจมาศ นกเป็ดน้ำ เป็ดแมนดาริน โดยมีวิวด้านหลังเป็นภูเขาที่มีหิมะปกคลุม ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มผลงานที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครของกลุ่มคะโน

“เรือนรับแขกวัดโคโจอิน”

เรือนรับแขกวัดโคโจอิน

“2 ห้องที่อยู่ในแถวด้านทิศใต้”

2 ห้องที่อยู่ในแถวด้านทิศใต้

“ศิลปินกลุ่มคะโน”

เป็นกลุ่มตระกูลจิตรกรวาดภาพ และเป็นชื่อสไตล์งานภาพวาด ที่เริ่มต้นจากคะโนะ มะซะโนะบุเป็นต้นมา มีความรุ่งเรืองเพราะเป็นกลุ่มจิตรกรช่างวาดที่ตระกูลขุนนางซามูไรต่างๆนิยมใช้บริการในช่วงปลายสมัยมุโระมัจจิ จนถึงสมัยเอะโดะ

“สมัยโมะโมะยะมะ”

เป็นช่วงสมัยหนึ่ง ที่มีระยะเวลาประมาณ 20 ปี ตั้งแต่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิมีอำนาจในการปกครองในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 16 ในด้านของประวัติศาสตร์ศิลปะถือเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากยุคกลางมาสู่ยุคปัจจุบันที่นับตั้งแต่สมัยอะซุจิโมะโมะยะมะมาจนถึงช่วงต้นสมัยเอะโดะ โดยเฉพาะการพัฒนาของสิ่งก่อสร้างต่างๆทั้งปราสาท บ้านพักขุนนาง วัดและศาลเจ้า รวมถึงภาพวาดบานประตูเลื่อนในอาคารเหล่านั้นด้วย และแพร่ขยายมาถึงภาพวาดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเทคนิคฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผา งานเคลือบภาชนะ และงานย้อมทอผ้า เป็นต้นด้วย

“มัสซึนิทะคิซุ”

มัสซึนิทะคิซุ

“แท่นเขียนหนังสือ”

tsuke-shoin

เป็นห้องที่ทำยื่นออกไปจากห้องโถงโทะโคะโนะมะ โดยยื่นไปทางระเบียงด้านนอก และมีประตูเลื่อนที่รับแสงสว่างอยู่ด้านหน้า โดยจะมีแท่นไม้ทำเป็นโต๊ะติดไว้ มีชื่อเรียกอื่นว่า โชะอินโดะโคะ อิดะชิฟุซึคุเอะ โชะอินกะมะเอะ โชะอินดะนะ อะคะริโดะโคะ อะคะริโชะอิน

“ภาพดอกเบญจมาศ “คิคคะซุ””

ภาพดอกเบญจมาศ “คิคคะซุ”

“คะโน ซังระคุ”

จิตรกรในสมัยอะซุจิโมะโมะยะมะ และช่วงต้นสมัยเอะโดะ ถือเป็นผู้ให้กำเนิดกลุ่มศิลปินเคียวคะโนะ ชื่อของเขาคือ มิซึโยะริ และถูกเรียกว่า ชูริโนะซุเคะ เป็นคนของตระกูลคิมุระ มาจากจังหวัดโอมิ ได้เรียนรู้งานจากคะโนะ เอโทะคุ และได้รับอนุญาตให้ใช้นามสกุลคะโนะในเวลาต่อมา เข้ารับใช้งานให้กับตระกูลโทโยโทมิ ได้มีผลงานวาดรูปในปราสาทโอซาก้า, จุระคุเท, วัดชิเทนโนจิ เป็นต้น งานวาดของเขาดูมีพลังและมีการตบแต่งที่สวยงาม ยังมีภาพวาดกำแพงที่วัดไดคะคุจิ เป็นต้นเหลืออยู่ (ค.ศ. 1559~1635)

“2 แผ่นซ้าย”

2 แผ่นซ้าย

“2 แผ่นขวา”

2 แผ่นขวา

“ฉาก 4 แผ่นที่อยู่ด้านทิศตะวันตก”

ฉาก 4 แผ่นที่อยู่ด้านทิศตะวันตก