TEXT
READER

เป็นสวนแบบนั่งชมจากในเรือนอาคารโดยเป็นสวนที่จัดจำลองภูเขาแม่น้ำต่างๆจากธรรมชาติมาไว้ด้านใน สวนตั้งอยู่ในพื้นที่กว้างด้านทิศใต้ของเรือนรับแขกวัดโคโจอิน มีบันทึกไว้ว่าเป็นสวนสวยชื่อดังในหนังสืออธิบายวิธีทำสวน “ซึคิยะมะนิวะซึคุริเดน”ในสมัยเอะโดะ และถูกกำหนดให้เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในปีที่ 9 ของรัชสมัยโชวะ (ค.ศ. 1934)
ในบ่อยังมีการใช้หินจากธรรมชาติวางแสดงเป็นสะพานหินโดยมีเกาะกลางน้ำและมีหินเรียงเป็นเส้นตรงที่เรียกว่าโยะโดะมะริอิชิ ถัดจากตรงกลางสวนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อยจะมีหินวางเรียงในแนวตั้งเหมือนกับน้ำตกที่ไม่มีน้ำไหล การจัดสวนแบบซึคิยะมะนั้น จะใช้รูปทรงของพื้นที่นั้นๆเข้ามาประกอบในการจัดสวน และใช้เงาของต้นไม้ช่วยเพิ่มบรรยากาศให้กับบ่อด้วย บ่อน้ำกว้างเข้ามาถึงใต้ชานระเบียงเรือนรับแขกทำให้เกิดการผสมผสานกันระหว่างสิ่งก่อสร้างกับสวน เป็นการสร้างบรรยากาศให้รู้สึกเงียบสงบได้ดี

“เรือนรับแขกวัดโคโจอิน”

เรือนรับแขกวัดโคโจอิน

“แบบนั่งชมจากในเรือนอาคารโดยเป็นสวนที่จัดจำลองภูเขาแม่น้ำต่างๆจากธรรมชาติมาไว้ด้านใน”

การจัดสวนของญี่ปุ่นนั้น จะจัดสวนแบบให้เห็นวิวทิวทัศน์ธรรมชาติที่ย่อส่วนของความสวยงามตามธรรมชาติที่เปลี่ยนไปตามฤดู (4 ฤดู) ไว้ให้เห็น โดยสไตล์ที่จะเห็นได้มากสุดคือจะจัดบ่อน้ำไว้ที่กลางสวน และมีการเรียงหินต่างๆเอาไว้ ที่เรียกว่า สวนสไตล์จิเซน และสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคร่าวๆ คือ แบบเดินชมที่สามารถเดินชมภายในสวนได้ และแบบนั่งชมที่จะนั่งชมอยู่ในตัวอาคารเช่น โชะอิน เป็นต้น

“สมัยเอะโดะ”

เป็นชื่อเรียกสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 260 ปี ตั้งแต่ที่โทคุกะวะ อิเอะยะซุได้ชัยชนะจากการรบเซะคิกะฮะระในปีที่ 5 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1600) และได้จัดตั้งรัฐบาลปกครองที่เอะโดะในปีค.ศ. 1603 จนถึงปีที่ 3 ของรัชสมัยเคโอ (ค.ศ. 1867) ที่โทคุกะวะ โยะชิโนะบุทำการคืนอำนาจการปกครองกลับไปให้จักรพรรดิ จะเรียกว่า สมัยโทคุกะวะ

“ซึคิยะมะนิวะซึคุริเดน”

หนังสือจัดสวนนี้เขียนโดยคิตะมุระ เอนคินไซ โดยตีพิมพ์ที่เกียวโตในปีที่ 20 ของรัชสมัยเคียวโฮ (ค.ศ. 1735) ประกอบไปด้วย 3 เล่ม คือ เล่มต้น เล่มกลาง เล่มปลาย โดยหนังสือนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง ส่งผลให้มีผู้คนที่ชอบจัดสวนเป็นงานอดิเรกเพิ่มขึ้น และยังเป็นหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการทำสวนนับตั้งแต่สมัยเมจิเป็นต้นไปด้วย

“เกาะกลางน้ำ”

เกาะกลางน้ำ

เกาะที่สร้างขึ้นในบ่อในสวน เรียกเกาะกลางน้ำนี้ในภาษาญี่ปุ่นว่า นะคะจิมะ ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเพื่อให้แตกต่างกับ เดะจิมะ ที่หมายถึง แหลมที่ยื่นออกมาในบ่อ

“โยะโดะมะริอิชิ”

โยะโดะมะริอิชิ

ทำการเรียงหินที่แทบจะเหมือนกันทั้งขนาดและรูปทรงเป็นเส้นตรงอยู่ในแนวเดียวกันที่ผิวน้ำของบ่อ โดยเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความมีโชคลาภที่มีเรือสมบัติที่กำลังจะมุ่งไปหาสมบัติยังเขาเผิงไหลกำลังจอดเทียบท่าอยู่

“น้ำตกที่ไม่มีน้ำไหล”

น้ำตกที่ไม่มีน้ำไหล

เป็นวิธีทำ คะเระซังซุย ที่ใช้การเรียงหิน หรือทรายสีขาวเพื่อแสดงให้เห็นเหมือนเป็นน้ำตก โดยไม่มีการให้น้ำไหลผ่านตรงนั้นจริง

“ซึคิยะมะ”

ซึคิยะมะ

เป็นภูเขาที่ก่อขึ้นด้วยดินภายในสวน โดยทั่วไปแล้วจะเป็นปัจจัยโครงสร้างที่สำคัญของสวนญี่ปุ่นโดยจะมีคู่กับบ่อน้ำ

“ชานระเบียงเรือนรับแขก”

ชานระเบียงเรือนรับแขก
สมัยมุโระมัจจิ