“โชะอินซึคุริ”
จากสไตล์การสร้างแบบชินเดนซึคุริที่ถูกสร้างขึ้นในสังคมชนชั้นสูงในสมัยเฮอัน ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยตั้งแต่สมัยคะมะคุระได้รับการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสไตล์ความเป็นอยู่ของนักรบซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในตอนนั้น และปรับเพื่อความจำเป็นในการรับแขกและทำพิธีการต่างๆด้วย อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากสิ่งก่อสร้างสไตล์เซนที่เข้ามาจากประเทศจีนด้วย จึงค่อยๆกลายมาเป็นสไตล์การก่อสร้างที่มีเอกลักษณ์พิเศษของบ้านพักที่ใหญ่หรูหราในสมัยสังคมนักรบ
“ยะมะโอะคะโดอะมิคะเกะโทะโมะ”
เป็นแม่ทัพในช่วงระหว่างสมัยทำสงครามในประเทศจนถึงสมัยอะซุจิโมะโมะยะมะ เป็นบุตรคนที่ 4 ของยะมะโอะคะ มิมะซะคะโนะคะมิ คะเกะยุคิ เจ้าปราสาทโอมิเซะตะ (เซะตะ เมืองโอซึ) โดยเริ่มแรกบวชเป็นพระอยู่ที่วัดโคโจอินในวัดมิอิเดระที่ท่านซุเคะฮิโระ ซึ่งเป็น บรรพบุรุษของตระกูลยะมะโอะคะเป็นผู้สร้าง โดยมีฉายาว่าเซนเค และต่อมาได้รับใช้อะชิคะกะ โยะชิอะคิ, โอะดะ โนะบุนะกะ, และเป็นที่ปรึกษา(โอะโทะกิชู) ให้กับโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ และได้รับชื่อโดอะมิ โดยในปีที่ 6 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ.1601) หลังการรบเซะคิกะฮะระจบลง ได้รับแต่งตั้งโดยท่านโทคุกะวะ อิเอะยะซุให้ได้รับข้าวสารจำนวน 9,000โคะคุ (1โคะคุ เท่ากับเลี้ยงคนได้ประมาณ 1 คนต่อปีหรือประมาณ 150กก.) และรับกองทัพโคกะมาอยู่ในความดูแล และในปีที่ 8 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ.1603) ได้เป็นฮังชุ (เจ้าเมืองเขตปกครอง) คนแรกที่ได้รับข้าวสาร 10,000 โคะคุของเขตปกครองฮิตะจิฟุตโตะ (ฟุตโตะ เมืองอินะชิคิ จังหวัดอิบะระคิ) (ค.ศ. 1540~1603)
“สมัยรัฐบาลเอะโดะ”
เป็นรัฐบาลปกครองที่จัดตั้งที่เอะโดะในปีที่ 8 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1603) โดยโทคุกะวะ อิเอะยะซุ เป็นรัฐบาลปกครองนาน 265 ปี สืบทอดกันมาโดยโชกุน 15 คน จนถึงสมัยของโทคุกะวะ โยะชิโนะบุที่ทำการคืนอำนาจการปกครองกลับไปให้จักรพรรดิในปีที่ 3 ของรัชสมัยเคโอ (ค.ศ. 1867) ในรัฐบาลปกครองนี้มีการแต่งตั้งไทโร(ผู้อาวุโสใหญ่ ไม่ได้มีคนในตำแหน่งนี้เสมอไป) โรจู(ผู้อาวุโส) และวะคะโดะชิโยะริ(รองมาจากโรจู) ให้เป็นผู้บริหารงานรัฐบาลปกครอง และมีการแต่งตั้งซังบุเกียว(ผู้ดูแลสามตำแหน่ง) ได้แก่ จิฉะ มัจจิ และคันโจ ให้เป็นผู้จัดการในเรื่องคดีความและการบริหารของวัดและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนของรัฐบาลปกครอง นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้ง โอเมะซึเคะ และเมะซึเคะให้เป็นผู้ตรวจสอบกิจการของรัฐบาลด้วย มีชื่อเรียกอื่นว่า สมัยรัฐบาลโทคุกะวะ
“เฮโนะอุจิ มะซะโนะบุ”
เป็นช่างไม้หัวหน้าใหญ่ในช่วงครึ่งแรกของสมัยเอะโดะ บ้านเกิดอยู่ที่ เขตนะกะ เมืองคิอิ (จังหวัดวากายามะในปัจจุบัน) ได้มีส่วนร่วมในงานก่อสร้างต่างๆของตระกูลโทโยโทมิ และตระกูลโทคุกะวะ ร่วมกับบิดาของเขาโยะชิมะซะ โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่มช่างฝีมือสายชิเทนโนจิที่ถ่ายทอดฝีมือความสามารถในการสร้างวัดศาลเจ้าสไตล์ญี่ปุ่น และในปีที่ 9 ของรัชสมัยคันเอ (ค.ศ. 1632) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าใหญ่ในการจัดการงานก่อสร้างจากรัฐบาลปกครองเอะโดะ และยังเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม "โชเม" ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับวิชาความรู้ลับในการออกแบบสถาปัตยกรรม (ค.ศ. 1583~1645)
“คู่มือการก่อสร้างในอดีตชื่อ “โชเม””
เฮโนะอุจิ มะซะโนะบุ ผู้ที่เป็นหัวหน้าช่างไม้ใหญ่ในสมัยรัฐบาลปกครองเอะโดะเป็นผู้เขียนขึ้นในปีที่ 13 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1608) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาความรู้ลับในการออกแบบสถาปัตยกรรม หนังสือเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมนี้จะเรียกว่า "คิวะริโช" โดย "โชเม" นี้เป็นคิวะริโชที่มีชื่อเสียง
“สมัยมุโระมัจจิ”
เป็นสมัยที่ตระกูลอะชิคะกะมีอำนาจปกครองและเป็นคนเปิดรัฐบาลปกครองที่มุโระมัจจิ โดยหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ปีที่ 3 ของรัชสมัยเมโทะคุ (ค.ศ. 1392) ที่มีการตกลงรวมตัวกันของจักรพรรดิฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ จนถึงปีที่ 1 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1573) ที่ท่านโยชิอะคิ โชกุนคนที่ 15 ถูกโอะดะ โนะบุนะกะขับไล่ รวมแล้วเป็นระยะเวลาประมาณ 180 ปี โดยในช่วงครึ่งหลังของสมัยนั้น คือหลังเกิดเหตุการณ์เมโอ ก็จะเรียกว่าเป็นยุคสงครามในประเทศ (เซนโกะคุ) และในบางทฤษฎีก็มีการนำสมัยนันโบะคุโจ (ค.ศ. 1336~1392) เข้ามารวมด้วย โดยถือว่าเป็นช่วงครึ่งแรกของสมัยมุโระมัจจิ
“ฮิกะชิยะมะโดะโนะ”
เป็นบ้านพักของ อะชิคะกะ โยะชิมะซะ ปัจจุบันคือวัดกิงคะคุจิ (วัดเงิน)
“มุคะชิโรคเคนชิจิเคนโนะชุเดนโนะซุ”