TEXT
READER

มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปทรงเหมือนกับของวัดเซเรียวจิ ฐานวางองค์พระทำขึ้นในสมัยมุโระมัจจิ ด้านบนและล่างมีการทำคิ้วบัว แกะสลักลายบัว ตรงกลางของฐานโดยรอบมีการแกะฉลุเป็นลายคลื่นที่เรียกว่าคะระคุซะมองโย และในปีที่ 13 ของรัชสมัยบุนเซ (ค.ศ. 1830) ได้มีการสร้างต่อเติมหลังคายื่นมาด้านหน้าที่มีการตกแต่งปั้นลมปิดท้ายหลังคาแบบโค้งที่เรียกว่าคะระฮะฟุ ในปัจจุบันเรียกชื่ออาคารนี้ว่าโบสถ์ “ชะคะโด”
มีการเล่าสืบกันมาว่าเป็นการย้ายอาคารเซเรียวเดนที่อยู่ในโกะโชะพระราชวังเก่าในเกียวโตมาที่วัดมิอิเดระนี้ เป็นอาคารใช้อยู่อาศัยแบบเรียบง่ายที่มีคานไม้ที่มีระยะห่างเท่ากันกับด้านกว้างบวกด้านยาวของขนาดคานไม้ที่เรียกการทำโครงแบบนี้ว่าฮังชิเกะดะรุคิ และมุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ เป็นอาคารที่เล่าสืบกันมาว่าที่นี่เคยเป็น“โรงอาหารจิคิโด”แบบโบราณของวัดขนาดใหญ่ในสมัยกลางที่มีพระภิกษุและผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวัดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในอดีต

“พระพุทธรูปทรงเหมือนกับของวัดเซเรียวจิ”

พระพุทธรูปทรงเหมือนกับของวัดเซเรียวจิ

“ฐานวางองค์พระ”

ฐานวางองค์พระ

“สมัยมุโระมัจจิ”

เป็นสมัยที่ตระกูลอะชิคะกะมีอำนาจปกครองและเป็นคนเปิดรัฐบาลปกครองที่มุโระมัจจิ โดยหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ปีที่ 3 ของรัชสมัยเมโทะคุ (ค.ศ. 1392) ที่มีการตกลงรวมตัวกันของจักรพรรดิฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ จนถึงปีที่ 1 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1573) ที่ท่านโยชิอะคิ โชกุนคนที่ 15 ถูกโอะดะ โนะบุนะกะขับไล่ รวมแล้วเป็นระยะเวลาประมาณ 180 ปี โดยในช่วงครึ่งหลังของสมัยนั้น คือหลังเกิดเหตุการณ์เมโอ ก็จะเรียกว่าเป็นยุคสงครามในประเทศ (เซนโกะคุ) และในบางทฤษฎีก็มีการนำสมัยนันโบะคุโจ (ค.ศ. 1336~1392) เข้ามารวมด้วย โดยถือว่าเป็นช่วงครึ่งแรกของสมัยมุโระมัจจิ

“คิ้วบัว แกะสลักลายบัว”

คิ้วบัว แกะสลักลายบัว

“ฐานโดยรอบ”

ฐานโดยรอบ

ลายแกะสลักตกแต่งบริเวณด้านข้างของฐานวางองค์พระ

“แกะฉลุเป็นลายคลื่นที่เรียกว่าคะระคุซะมองโย”

แกะฉลุเป็นลายคลื่นที่เรียกว่าคะระคุซะมองโย

“หลังคายื่นมาด้านหน้าที่มีการตกแต่งปั้นลมปิดท้ายหลังคาแบบโค้งที่เรียกว่าคะระฮะฟุ”

หลังคายื่นมาด้านหน้าที่มีการตกแต่งปั้นลมปิดท้ายหลังคาแบบโค้งที่เรียกว่าคะระฮะฟุ

“มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ”

มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ

หลังคาที่ใช้เปลือกของต้นสนฮิโนะคิโดยใช้ตะปูทำจากไม้ไผ่ยึดไว้

“ฮังชิเกะดะรุคิ”

ฮังชิเกะดะรุคิ

จันทันที่วางในระยะที่ห่างกว่าปกติทั่วไป ส่วนมากจะมีมาตรฐานระยะห่างโดยใช้ค่าผลบวกของความกว้างและความสูงของไม้จันทันมากำหนดระยะห่าง

สมัยมุโระมัจจิ