“ศาลเจ้าคุ้มครอง”
ศาลเจ้าที่สร้างขึ้นเพื่อคุ้มครองวัด
“อะชิคะกะ ทะคะอุจิ”
โชกุนคนแรกของรัฐบาลปกครองมุโระมัจจิ (อยู่ในตำแหน่ง ค.ศ.1338~1358) มีชื่อว่า ทะคะอุจิ โดยในตอนแรกได้ใช้คันจิ 高氏 แต่ภายหลังได้รับพระราชประธานตัวคันจิจากชื่อของจักรพรรดิโกะไดโกะ จึงได้เปลี่ยนคันจิชื่อเป็น 尊氏 โดยได้ชัยชนะจากโระคุฮะระในสงครามเก็นโค ซึ่งเป็นจุดผันเปลี่ยนให้มีการตั้งรัฐบาลใหม่เคนมุ แต่หลังจากนั้นได้เป็นกบฏต่อจักรพรรดิโกะไดโกะ และได้สนับสนุนจักรพรรดิโคเมียว และได้กลายมาเป็นเซอิไดโชกุน (แต่งตั้งให้กับโชกุนให้ไปบุกเบิกด้านทิศตะวันออกที่ยังไม่มีการปกครอง) และได้เปิดรัฐบาลปกครองมุโระมัจจิ (1305~1358)
“มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ”
หลังคาที่ใช้เปลือกของต้นสนฮิโนะคิโดยใช้ตะปูทำจากไม้ไผ่ยึดไว้
“นะกะเระซึคุริ”
เป็นรูปแบบหนึ่งในการสร้างพระอุโบสถของศาลเจ้า หลังคาเป็นทรงจั่ว (คิริซุมะ ซึคุริ) ที่โค้งงอและมีทางเข้าตรงด้านข้าง(ด้านยาว)ของตัวอาคาร หลังคาด้านหนึ่งยื่นยาวออกไปด้านนอก
“พระจิโช”
เกิดในเมืองเซนซือจิ จังหวัดคะกะวะ(สถานที่ปัจจุบัน) ในปีที่ 5 ของรัชสมัยโคนิน (ค.ศ. 814) บิดาเป็นคนของตระกูลวะเคะ มารดาเป็นลูกของญาติพี่น้องของพระคูไค โดยขึ้นเขาฮิเอตอนอายุ 15 ปี และเข้าเป็นศิษย์ของพระกิชิน(ค.ศ. 778~833) เมื่ออายุได้ 40 ปี ในปีที่ 3 ของรัชสมัยนินจุ (ค.ศ. 853) ได้เดินทางไปที่ประเทศจีน (ราชวงศ์ถัง) โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ของเทนไดและมิคเคียว ที่เขาเทนไดและชางอัน แล้วจึงนำมาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น โดยได้เก็บพระคัมภีร์ที่นำกลับมาจากประเทศจีนไว้ที่วัดโตอินในวัดมิอิเดระ ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสคนแรก และได้สถาปนาให้วัดมิอิเดระเป็นวัดสาขาของนิกายเทนได ซึ่งถือเป็นผู้วางรากฐานของการเป็นวัดสำนักใหญ่ของสายจิมอนในเวลาต่อมา โดยในปีที่ 10 ของรัชสมัยโจกัง (ค.ศ. 868) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานนิกายเทนไดคนที่ 5 โดยท่านได้อุทิศตนเพื่อความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธเป็นเวลานานถึงกว่า 23 ปี ก่อนที่จะถึงแก่มรณภาพในวันที่ 29 ตุลาคม ปีที่ 3 ของรัชสมัยคัมเปียว (ค.ศ. 891)
“องค์เทพเจ้าชินระเมียวจิน”
เป็นเทพผู้พิทักษ์ของวัดมิอิเดระ รูปปั้นท่านั่งขององค์เทพเจ้าชินระเมียวจินเป็นรูปปั้นที่มีความโด่ดเด่นของทรงเทพในสมัยเฮอันโดยถูกกำหนดให้เป็นสมบัติของประเทศญี่ปุ่น เทพที่สง่างามที่ปรากฏใน "โคะคอนโจะมอนจู" หนังสือรวมเรื่องเล่าในสมัยคะมะคุระนี้ได้รับความเคารพนับถือมาแต่สมัยโบราณ และมินะโมะโตะ โนะ โยะชิมิซึได้เป็นสาวกของเทพเมียวจิน และได้ใช้ชื่อว่า "ชินระ ซะบุโร" จึงทำให้เทพชินระเมียวจินนี้เป็นเทพผู้พิทักษ์ของตระกูลมินะโมะโตะตลอดมา
“สมัยเฮอัน”
เป็นสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 400 ปี ตั้งแต่จักรพรรดิคันมุจัดตั้งเฮอันเป็นเมืองหลวงที่ประทับ (ค.ศ. 794) จนถึงมีการจัดตั้งรัฐบาลปกครองคะมะคุริ (ค.ศ. 1185) ซึ่งเป็นสมัยที่อำนาจปกครองมีศูนย์กลางอยู่ที่เฮอันเคียว (เกียวโต) โดยปกติจะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงต้นสมัย ช่วงกลางสมัย และช่วงท้ายสมัย หรือหมายถึง สมัยฟื้นฟูระบบการปกครอง(ริซึเรียว) สมัยผู้สำเร็จราชการ(เซคคัน) และสมัยอินเซ (ช่วงปลายสมัยเป็นการปกครองโดยตระกูลไทระ) หรือเรียกว่าเป็น สมัยเมืองเฮอัน
“ตระกูลคะวะจิเกนจิ”
เป็นสายตระกูลหนึ่งในตระกูลเซวะที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่ ซึโบะอิ เขตอิชิคะวะ เมืองคะวะจิ (ปัจจุบันคือ ซึโบะอิ เขตฮะบิคิโนะ จังหวัดโอซาก้า) ซึ่งบรรพบุรุษของตระกูลนี้คือ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโนะบุ ได้รับคำสั่งให้มาเป็นเจ้าเมืองที่เมืองคะวะจินี้ในปีที่ 4 ของรัชสมัยคันนิน (ค.ศ.1020) และเป็นผู้ปกครองสืบต่อมารวมทั้งหมด 3 สมัยคือ โยะริโนะบุ โยะริโยะชิ และโยะชิอิเอะ ซึ่งก็ได้ถูกเรียกว่าตระกูลคะวะจิเกนจิ
โดยมีการเล่าสืบกันมาว่า โยะชิมิซึ (ค.ศ. 1045~1127) เป็นผู้สร้างวัดคองโคอินในส่วนด้านเหนือของวัดมิอิเดระ และได้ตั้งคะคุกิซึ่งเป็นบุตรชายเป็นเจ้าอาวาส โดยที่ภูเขาด้านหลังของหอเทพชินระเซนชินโด มีหลุมศพของโยะชิมิซึตั้งอยู่