TEXT
READER

เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนตุลาคม ปีที่ 26 ของรัชสมัยเฮเซ (ค.ศ. 2014) เป็นหอที่เปิดฉลองครบรอบวันเกิด 1200 ปีของพระจิโช
เป็นที่จัดเก็บและจัดแสดงทั้งภาพวาด พระพุทธรูป หรือผลงานศิลปะต่างๆ ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญไว้ เช่น ภาพวาดบนบานประตูเลื่อนที่เรือนรับแขกวัดคันกะคุอินที่วาดโดย คะโน มิซึโนะบุ ซึ่งถือเป็นภาพวาดสุดยอดชิ้นหนึ่งของสมัยโมะโมะยะมะ, พระโพธิสัตว์ 11 หน้าในท่ายืน, รูปปั้นนางหาริตี, พระแม่ลักษมีในท่ายืน, พระจิโชในท่านั่ง เป็นต้น
สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของวัดมิอิเดระให้ไปถึงรุ่นลูกหลาน และเป็นสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินทางวัฒนธรรมแบบเปิดให้เข้าชม เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของวัดมิอิเดระที่สืบทอดมายาวนานกว่า 1300 ปี

“พระจิโช”

พระจิโช

เกิดในเมืองเซนซือจิ จังหวัดคะกะวะ(สถานที่ปัจจุบัน) ในปีที่ 5 ของรัชสมัยโคนิน (ค.ศ. 814) บิดาเป็นคนของตระกูลวะเคะ มารดาเป็นลูกของญาติพี่น้องของพระคูไค โดยขึ้นเขาฮิเอตอนอายุ 15 ปี และเข้าเป็นศิษย์ของพระกิชิน(ค.ศ. 778~833) เมื่ออายุได้ 40 ปี ในปีที่ 3 ของรัชสมัยนินจุ (ค.ศ. 853) ได้เดินทางไปที่ประเทศจีน (ราชวงศ์ถัง) โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ของเทนไดและมิคเคียว ที่เขาเทนไดและชางอัน แล้วจึงนำมาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น โดยได้เก็บพระคัมภีร์ที่นำกลับมาจากประเทศจีนไว้ที่วัดโตอินในวัดมิอิเดระ ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสคนแรก และได้สถาปนาให้วัดมิอิเดระเป็นวัดสาขาของนิกายเทนได ซึ่งถือเป็นผู้วางรากฐานของการเป็นวัดสำนักใหญ่ของสายจิมอนในเวลาต่อมา โดยในปีที่ 10 ของรัชสมัยโจกัง (ค.ศ. 868) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานนิกายเทนไดคนที่ 5 โดยท่านได้อุทิศตนเพื่อความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธเป็นเวลานานถึงกว่า 23 ปี ก่อนที่จะถึงแก่มรณภาพในวันที่ 29 ตุลาคม ปีที่ 3 ของรัชสมัยคัมเปียว (ค.ศ. 891)

“โมะโมะยะมะ”

เป็นช่วงสมัยหนึ่ง ที่มีระยะเวลาประมาณ 20 ปี ตั้งแต่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิมีอำนาจในการปกครองในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 16 ในด้านของประวัติศาสตร์ศิลปะถือเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากยุคกลางมาสู่ยุคปัจจุบันที่นับตั้งแต่สมัยอะซุจิโมะโมะยะมะมาจนถึงช่วงต้นสมัยเอะโดะ โดยเฉพาะการพัฒนาของสิ่งก่อสร้างต่างๆทั้งปราสาท บ้านพักขุนนาง วัดและศาลเจ้า รวมถึงภาพวาดบานประตูเลื่อนในอาคารเหล่านั้นด้วย และแพร่ขยายมาถึงภาพวาดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเทคนิคฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผา งานเคลือบภาชนะ และงานย้อมทอผ้า เป็นต้นด้วย

“คะโน มิซึโนะบุ”

เป็นบุตรคนแรกของคะโนะ เอโทะคุ (ค.ศ. 1543-1590) ซึ่งเป็นผู้นำของจิตรกรในสมัยโมะโมะยะมะ โดยทั้งตัวเค้าเองและบิดา เอโทะคุรับใช้ให้กับโอะดะ โนะบุนะกะ และโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ในการทำผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ผลงานส่วนใหญ่นั้นได้สูญเสียไป โดยผลงานที่อยู่ในเรือนรับแขกวัดคันกะคุอินที่ตั้งอยู่ในวัดมิอิเดระนั้น ถือเป็นผลงานโดดเด่นที่แสดงถึงสไตล์งานของมิซึโนะบุเอาไว้ (ค.ศ. 1565~1608)

“ภาพวาดบนบานประตูเลื่อนที่เรือนรับแขกวัดคันกะคุอิน”

ภาพวาดบนบานประตูเลื่อนที่เรือนรับแขกวัดคันกะคุอิน

ที่ห้องอิจิโนะมะจะเป็นภาพวาดต้นไม้และดอกไม้ 4 ฤดูโดยใช้การปิดทอง, มีรูปวาดของต้นบ๊วย และต้นสนไซเปรสญี่ปุ่น(ฮิโนะคิ) ที่ประตูเลื่อนทั้ง 4 บานด้านทิศเหนือ, มีรูปวาดของต้นซีดาร์ยืดตรงและซากุระที่ต่อเนื่องกันบนประตูเลื่อนด้านตะวันออกของห้องตั้งแต่บานที่อยู่ในมุมด้านทิศเหนือและบานถัดมา, และมีเงาหินบนริมน้ำและดอกโรโดเดนดรอนอยู่ที่บานประตู 2 บานทางด้านทิศใต้ของฝั่งตะวันออก, และที่ประตูเลื่อนด้านทิศใต้ทั้ง 4 บานมีรูปวาดของไฮเดรนเยีย ไอริส ป่าต้นซีดาร์ และใบไม้เปลี่ยนสี, และตามด้วยภาพวาดน้ำตกและภูเขาหิมะที่กำแพงใหญ่ด้านทิศตะวันตก ภาพวาดทั้งหมดนี้ มีสไตล์การวาดที่แตกต่างกับของบิดา เอโทะคุ ซึ่งถือเป็นสไตล์ของมิซึโนะบุที่สร้างบรรยากาศที่สงบและสวยงามอย่างมีเอกลักษณ์
ที่ห้องนิโนะมะ จะเป็นภาพวาดของต้นไม้และนกโดยเป็นการวาดลงสีโดยตรงบนผิวประตูเลื่อนทั้ง 24 บาน ที่มุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือจะมีต้นสนมัสซึ 2 ต้นอยู่ตรงกลางแผ่ออกไปทางด้านซ้ายและขวา มีต้นสนกับวิสทีเรีย ไก่ฟ้าและเป็ดคะโมะ เป็ดแมนดาริน, ส่วนด้านตะวันออกมีต้นไผ่กับนกกระจอก มีโขดหินกับนกหางกระดิ่ง, ด้านทิศใต้มีต้นอ้ออยู่ริมน้ำและนกกระสา เป็นต้น โดยเป็นการแสดงถึงธรรมชาติของภูเขาป่าไม้ที่สะอาดสดชื่นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูต่างๆอย่างช้าๆ

“พระโพธิสัตว์ 11 หน้าในท่ายืน”

พระโพธิสัตว์ 11 หน้าในท่ายืน

เคยเป็นพระประธานของวัดบิโซจิ ซึ่งเป็นวัดในสำนักของวัดมิอิเดระ ทำขึ้นจากไม้ไซเปรสชิ้นเดียวตั้งแต่เศียรพระพุทธรูปจนถึงฐานนั่งดอกบัว เรียกว่าประติมากรรมพระพุทธรูปจากไม้หอม มีเอกลักษณ์ที่ใบหน้าอิ่มเอิบ พระวรกายที่อวบสมบูรณ์ เป็นต้น ตกแต่งด้วยลายฉลุที่สวยสง่าบริเวณหน้าอก และห่มจีวรที่แกะสลักอย่างละเอียดประณีต เป็นต้น ที่หาไม่ได้ง่ายของพระพุทธรูปแกะสลักของนิกายเทนไดมิคเคียวในช่วงต้นสมัยเฮอัน ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีค่าเป็นอย่างยิ่ง

“รูปปั้นนางหาริตี”

รูปปั้นนางหาริตี

สร้างจากการประกอบไม้เข้าด้วยกัน(โยะเซะกิ ซึคุริ) ด้วยไม้ไซเปรส โดยถือทับทิมไว้ในมือขวา และอุ้มเด็กทารกไว้ด้วยแขนซ้ายและมองด้วยสายตาที่เปี่ยมด้วยความรักและความเมตตา สวมชุดสไตล์ซ่ง(สมัยหนึ่งของจีน) ที่มีสีสดใสและมีลวดลายเส้นทอง นั่งบนแท่นโดยห้อยขาข้างหนึ่งลง เป็นงานประติมากรรมในช่วงต้นสมัยคะมะคุระที่แสดงให้เห็นลักษณะที่เหมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นการแกะสลักที่แสดงถึงใบหน้าที่เต็มไปด้วยความรักและเมตตา หรือแสดงการพลิ้วไหวของเสื้อผ้า เป็นต้น

“พระแม่ลักษมีในท่ายืน”

พระแม่ลักษมีในท่ายืน

ถือเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ความสวยงาม และทรัพย์สมบัติ ได้รับการบูชานับถือมาตั้งแต่สมัยนารา ที่ประเทศญี่ปุ่น สร้างจากการประกอบไม้เข้าด้วยกัน(โยะเซะกิ ซึคุริ) ด้วยไม้ไซเปรส อยู่ในท่ายืนที่สง่างามโดยถืออัญมณีไว้ในมือซ้าย มีผ้าคุมศีรษะที่มัดผมเอาไว้ และสวมชุดคลุมสไตล์ซ่ง (สมัยหนึ่งของจีน) ซึ่งสมกับที่เป็นเทพธิดาแห่งโชคลาภ เป็นรูปปั้นเทพธิดาที่สง่างามในช่วงต้นสมัยคะมะคุระที่แสดงให้เห็นลักษณะที่เหมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงถึงใบหน้าที่เต็มไปด้วยความงดงามอย่างเช่นสตรีชั้นสูง หรือแสดงการอ่อนพลิ้วของเสื้อผ้า เป็นต้น

“พระจิโชในท่านั่ง”

พระจิโชในท่านั่ง

รูปปั้นท่านั่งของพระจิโชไดชิ (814~891) ผู้จัดตั้งวัดมิอิเดระ สร้างโดยการอ้างอิงจากรูปปั้นของพระชูซอนไดชิซึ่งเป็นสมบัติของประเทศที่จัดเก็บไว้ในวัดโตอิน เป็นประติมากรรมที่ทำมาจากไม้ไซเปรสชิ้นเดียวตั้งแต่ส่วนศีรษะจนถึงบริเวณหัวเข่า ตลอดจนถึงชายจีวรด้วย แต่งสีด้วยสีที่สวยงามทั้งตัว และจะรู้สึกได้ถึงความเคารพนับถือจากผู้คนต่อท่านจิโชไดชิจากสีหน้าที่สงบและอ่อนโยนของรูปปั้นนี้