“พระจิโช”
เกิดในเมืองเซนซือจิ จังหวัดคะกะวะ(สถานที่ปัจจุบัน) ในปีที่ 5 ของรัชสมัยโคนิน (ค.ศ. 814) บิดาเป็นคนของตระกูลวะเคะ มารดาเป็นลูกของญาติพี่น้องของพระคูไค โดยขึ้นเขาฮิเอตอนอายุ 15 ปี และเข้าเป็นศิษย์ของพระกิชิน(ค.ศ. 778~833) เมื่ออายุได้ 40 ปี ในปีที่ 3 ของรัชสมัยนินจุ (ค.ศ. 853) ได้เดินทางไปที่ประเทศจีน (ราชวงศ์ถัง) โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ของเทนไดและมิคเคียว ที่เขาเทนไดและชางอัน แล้วจึงนำมาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น โดยได้เก็บพระคัมภีร์ที่นำกลับมาจากประเทศจีนไว้ที่วัดโตอินในวัดมิอิเดระ ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสคนแรก และได้สถาปนาให้วัดมิอิเดระเป็นวัดสาขาของนิกายเทนได ซึ่งถือเป็นผู้วางรากฐานของการเป็นวัดสำนักใหญ่ของสายจิมอนในเวลาต่อมา โดยในปีที่ 10 ของรัชสมัยโจกัง (ค.ศ. 868) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานนิกายเทนไดคนที่ 5 โดยท่านได้อุทิศตนเพื่อความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธเป็นเวลานานถึงกว่า 23 ปี ก่อนที่จะถึงแก่มรณภาพในวันที่ 29 ตุลาคม ปีที่ 3 ของรัชสมัยคัมเปียว (ค.ศ. 891)
“สถานที่ไว้สักการะ”
เป็นชื่อเรียกแบบสุภาพของสถานที่ไว้สักการะ (เป็นสถานที่ที่ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษสถิตอยู่)
“องค์จักรพรรดิเซวะ”
จักรพรรดิในช่วงต้นของสมัยเฮอัน เป็นพระโอรสคนที่ 4 ของจักรพรรดิมอนโทะคุ มารดาคือฟุจิวะระโนะอะคิระเคโคะ(ฟุจิวะระโนะเมชิ) มีชื่อว่า โคะเระฮิโตะ และมีชื่อเรียกอื่นว่า มิซุโนะโอะเท เนื่องจากยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงมีฟุจิวะระโนะโยะชิฟุซะซึ่งมีความสัมพันธ์เป็นตา มาทำหน้าที่ว่าราชการแทน(เซสโช) และเป็นผู้อุทิศตนให้กับศาสนาพุทธ และได้ทรงปรงผมออกบวชในปีที่ 3 ของรัชสมัยกังเกียว (ค.ศ. 879) โดยมีฉายาว่า โซะชิน (ครองราชย์ ปีค.ศ. 858~876) (850~880)
“พิธีในการยินยอมรับผู้ที่ออกบวชให้เป็นพระอย่างเต็มตัว ”
เป็นพิธีทางศาสนาที่สำคัญ เป็นพิธีที่จัดขึ้นตอนถ่ายทอดคำสอนของมิคเคียว และรับช่วงต่อตำแหน่งอะจะริ (Acharya) โดยพิธีนี้มีที่มาจากพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์และเจ้าชายของอินเดียในโบราณซึ่งจะทำการรดน้ำศีรษะ
“โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ”
เป็นแม่ทัพในสมัยอะซุจิโมะโมะยะมะ โดยเริ่มต้นจากการเป็นผู้รับใช้ของโอะดะ โนะบุนะกะ และเสนอชื่อขึ้นเป็นผู้สืบทอดคนแรกหลังจากที่โนะบุนะกะเสียชีวิตในเหตุการณ์ฮอนโนจิโนะเฮน ที่เกิดขึ้นในปีที่ 10 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1582) และสามารถชนะฝ่ายศัตรู ทำให้รวมประเทศได้ โดยฮิเดโยชิได้เริ่มก่อสร้างปราสาทโอซาก้าในปีที่ 11 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1583) โดยปราสาทดูจากภายนอกมี 5 ชั้นและมี 8 ชั้นด้านใน ที่คู่ควรกับผู้ที่สามารถรวบรวมประเทศให้เป็นหนึ่งได้ และในสมัยนั้นที่เรียกฮิเดโยชิว่าโฮไทโค ก็ถือเป็นสมัยที่วัฒนธรรมโมะโมะยะมะที่สวยงามหรูหราอยู่ในช่วงรุ่งเรือง ทั้งพิธีชงชา และภาพวาดของกลุ่มคะโน
ความสัมพันธ์กับวัดมิอิเดระนั้นถือว่าดี แต่ในช่วงบั้นปลายชีวิต ปีที่ 4 ของรัชสมัยบุนโระคุ (ค.ศ. 1595) ได้มีคำสั่งให้ยึดและปิดวัดมิอิเดระอย่างกะทันหัน และหลังจากฮิเดโยชิเสียชีวิตไปในเดือนสิงหาคม ปีที่ 3 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1598) ท่านคิตะโนะมังโดะโคะโระ ภรรยาเอกของฮิเดโยชิ ก็ได้เป็นผู้ฟื้นฟูวัดมิอิเดระ
“สั่งปิดและยึดวัด”
(หมายถึงที่ดินที่ไม่มีเจ้าของ) ในสมัยคะมะคุระ, สมัยมุโระมัจจิ จะหมายถึงที่ดินที่ถูกยึดโดยรัฐบาลปกครองเพราะขุนนางที่เป็นเจ้าของได้ทำผิดและโดนลงโทษ เป็นต้น เลยทำให้เป็นที่ดินที่ไม่มีเจ้าของ จะเรียกว่าที่ดินที่ถูกยึด และยังจะถูกยึดอาณาเขตและทรัพย์สินอื่นๆที่มีอยู่ด้วย
“โฮเกียวซึคุริ”
เป็นหลังคาชนิดหนึ่ง ของอาคารที่สร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส โดยมุมแหลมของหลังคาจะมาประจบกันที่กลางห้อง อาจจะเขียนด้วยคันจิญี่ปุ่นอีกอย่างหนึ่งแต่คำอ่านเหมือนกัน
“มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ”
หลังคาที่ใช้เปลือกของต้นสนฮิโนะคิโดยใช้ตะปูทำจากไม้ไผ่ยึดไว้
“รูปปั้นพระอจละสีเหลืองในท่ายืน(คิฟุโดซอนริวโซ)”
เป็นหนึ่งในสามพระอจละ(ฟุโดเมียวโอ)ของประเทศญี่ปุ่น มีชื่อเรียกอื่นว่า ฟุโดเมียวโอสีทอง โดยพระจิโชไดชิ เอนจิน (814~891) ผู้จัดตั้งวัดมิอิเดระได้วาดเอาไว้เมื่อตอนที่ท่านเห็นการปรากฎตัวตอนที่เข้าปฏิบัติธรรมที่เขาฮิเอซัง ซึ่งถือเป็นภาพวาดของฟุโดเมียวโอที่เก่าแก่ที่สุด และถูกจัดให้เป็นสมบัติของประเทศ โดยในสมัยคะมะคุระได้มีการแกะสลักรูปปั้นฟุโอเมียวโอจากรูปวาดนี้ ซึ่งรูปปั้นแกะสลักทั้งหมดเป็นพระปิดซ่อนไม่เปิดแสดงให้เห็น รูปปั้นพระอจละสีเหลืองนี้ ได้รับการปกป้องรักษามาตลอดทั้งชีวิตของพระจิโชไดชิ และจากเหตุการณ์มหัศจรรย์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทำให้รูปปั้นแกะสลักนี้เป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะจากนิกายไหน ทำให้วัดมิอิเดระกลายเป็นหนึ่งในวัดศูนย์กลางของวัดที่นับถือพระอจละ(ฟุโดเมียวโอ)