TEXT
READER

เป็นประตูด้านใน มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ ตั้งอยู่ด้านหน้าของวิหารไดชิโด ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับวิหารไดชิโดในตอนที่ทำการฟื้นฟูวัดขึ้นใหม่ในช่วงปีรัชสมัยเคโจ
เป็นประตูแบบมุไคคะระมงที่มีปั้นลมปิดท้ายหลังคาแบบโค้งที่เรียกว่าคะระฮะฟุอยู่ด้านหน้า ที่เสาหลักเป็นเสาทรงเหลี่ยมที่ทำการลบเหลี่ยมของมุมออก บานประตูเปิดได้ทั้งสองข้าง โดยแขวนประตูซังคะระโตะที่เป็นลายกั้นในทั้งแนวตั้งและแนวนอน ที่ประตูซังคะระโตะ ด้านบนเป็นลายไม้ระแนง ด้านล่างเป็นลายเฉียงกากบาท ตรงกลางเป็นรูปทรงของแผ่นแท่นรองน้ำหนักแกะสลักเรียกว่าอิตะคะเอะรุมะตะ เป็นต้น ซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างในสมัยโมะโมะยะมะ
ตอนบูรณะในปีที่ 2 ของรัชสมัยเอนโป (ค.ศ. 1674) ได้เปลี่ยนหลังคากระเบื้องที่ปิดหัวท้ายของอกไก่ที่เรียกว่าชิชิกุจิ และที่กระเบื้องนี้มีสลักชื่อของท่าน นิชิมุระ ฮังเบมะซะเทรุ ผู้คิดค้นหลังคากระเบื้องทรงโค้งที่เรียกว่าซังคะวะระเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันนี้

“มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ”

มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ

หลังคาที่ใช้เปลือกของต้นสนฮิโนะคิโดยใช้ตะปูทำจากไม้ไผ่ยึดไว้

“ปั้นลมปิดท้ายหลังคาแบบโค้งที่เรียกว่าคะระฮะฟุ”

ปั้นลมปิดท้ายหลังคาแบบโค้งที่เรียกว่าคะระฮะฟุ

หลังคาที่มีลักษณะเอกลักษณ์ ตรงกลางจะสูง และจะทำเป็นเส้นโค้งลงมาทางด้านซ้ายขวา

“ประตูแบบมุไคคะระมง”

ประตูแบบมุไคคะระมง

ประตูที่มีคะระฮะฟุหันมาทางด้านหน้า

“เสาทรงเหลี่ยมที่ทำการลบเหลี่ยมของมุมออก”

เสาทรงเหลี่ยมที่ทำการลบเหลี่ยมของมุมออก

การลบเหลี่ยมของมุมเสา (เมงโดะริ) ออกนั้น ปกติจะตัดมุมออกไป 45 องศาของเสาเหลี่ยมทั้ง 4 มุม ที่เรียกว่า คิริเมง โดยจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าจะตัดมุมออกไปมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับความกว้างของเสา หากตัดออกไปมากก็จะเรียกว่า "โอเมงโทะริ" ถ้าตัดออกนิดเดียวจะเรียกว่า "อิโตะเมง" และหากมีการหักมุมเหลี่ยมเข้าด้านในนิดหนึ่งจะเรียกว่า "ซุมิอิริ"

“ประตูซังคะระโตะ”

ประตูซังคะระโตะ

ประตูที่ทำโครงอยู่ด้านในของกรอบประตู และมีแผ่นไม้บางหรือมีลายไม้ระแนงใส่ประกอบเข้าในโครงประตู

“เป็นลายไม้ระแนง”

เป็นลายไม้ระแนง

เป็นการเรียงลายคุมิโคะในแนวตั้งหรือแนวนอน

“ลายเฉียงกากบาท”

ลายเฉียงกากบาท

“คะเอะรุมะตะ”

คะเอะรุมะตะ

เป็นส่วนที่วางขั้นระหว่างไม้ 2 ท่อนที่ขนานกัน โดยจะมีลักษณะงอโค้งออกไปด้านนอกมีรูปทรงเหมือนกับง่ามขาของกบ และมีอีกอย่างที่สันนิษฐานกันก็คือมาจากปลายดอกธนูที่มีรูปทรงเป็น 2 ง่าม ที่เรียกว่าคะริมะตะ

“สมัยโมะโมะยะมะ”

เป็นช่วงสมัยหนึ่ง ที่มีระยะเวลาประมาณ 20 ปี ตั้งแต่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิมีอำนาจในการปกครองในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 16 ในด้านของประวัติศาสตร์ศิลปะถือเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากยุคกลางมาสู่ยุคปัจจุบันที่นับตั้งแต่สมัยอะซุจิโมะโมะยะมะมาจนถึงช่วงต้นสมัยเอะโดะ โดยเฉพาะการพัฒนาของสิ่งก่อสร้างต่างๆทั้งปราสาท บ้านพักขุนนาง วัดและศาลเจ้า รวมถึงภาพวาดบานประตูเลื่อนในอาคารเหล่านั้นด้วย และแพร่ขยายมาถึงภาพวาดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเทคนิคฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผา งานเคลือบภาชนะ และงานย้อมทอผ้า เป็นต้นด้วย

“ชิชิกุจิ”

ชิชิกุจิ

เป็นกระเบี้องหลังคาที่มีไว้เพื่อประดับปิดหัวท้ายของอกไก่บนหลังคาเช่นเดียวกับ โอะนิกะวะระที่เป็นกระเบื้องรูปหน้ายักษ์โอะนิ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นกระเบื้องที่มีหน้าสิงโตอย่างกับชื่อชิชิ ที่แปลว่าสิงโตในภาษาญี่ปุ่น จะมีลักษณะเป็นกระเบื้องม้วนเหมือนกับม้วนพระคัมภีร์ หรือคล้ายกับมีคลีบยื่นออกมาทางด้านล่างทั้งซ้ายและขวา เป็นต้น

“ซังคะวะระ”

ซังคะวะระ

เป็นการมุงหลังคาโดยใช้กระเบื้องหลังคาที่โค้งเหมือนคลื่นแค่เพียงชนิดเดียว โดยถูกค้นคิดวิธีการมุมกระเบี้องนี้ในสมัยเอะโดะ การมุมหลังคาแบบนี้จะเรียกว่า คันเรียคุกะวะระ(หลังคาแบบย่อง่าย) เป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำเมื่อเทียบกับการทำหลังคาแบบปกติในสมัยนั้น โดยในปัจจุบันบ้านเรือนและที่อยู่อาศัยต่างๆโดยปกติก็จะเป็นการมุงหลังคาแบบซังคะวะระนี้

“สลักชื่อของท่าน นิชิมุระ ฮังเบมะซะเทรุ”

สลักชื่อของท่าน นิชิมุระ ฮังเบมะซะเทรุ
สมัยโมะโมะยะมะ