“พระจิโช”
เกิดในเมืองเซนซือจิ จังหวัดคะกะวะ(สถานที่ปัจจุบัน) ในปีที่ 5 ของรัชสมัยโคนิน (ค.ศ. 814) บิดาเป็นคนของตระกูลวะเคะ มารดาเป็นลูกของญาติพี่น้องของพระคูไค โดยขึ้นเขาฮิเอตอนอายุ 15 ปี และเข้าเป็นศิษย์ของพระกิชิน(ค.ศ. 778~833) เมื่ออายุได้ 40 ปี ในปีที่ 3 ของรัชสมัยนินจุ (ค.ศ. 853) ได้เดินทางไปที่ประเทศจีน (ราชวงศ์ถัง) โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ของเทนไดและมิคเคียว ที่เขาเทนไดและชางอัน แล้วจึงนำมาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น โดยได้เก็บพระคัมภีร์ที่นำกลับมาจากประเทศจีนไว้ที่วัดโตอินในวัดมิอิเดระ ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสคนแรก และได้สถาปนาให้วัดมิอิเดระเป็นวัดสาขาของนิกายเทนได ซึ่งถือเป็นผู้วางรากฐานของการเป็นวัดสำนักใหญ่ของสายจิมอนในเวลาต่อมา โดยในปีที่ 10 ของรัชสมัยโจกัง (ค.ศ. 868) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานนิกายเทนไดคนที่ 5 โดยท่านได้อุทิศตนเพื่อความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธเป็นเวลานานถึงกว่า 23 ปี ก่อนที่จะถึงแก่มรณภาพในวันที่ 29 ตุลาคม ปีที่ 3 ของรัชสมัยคัมเปียว (ค.ศ. 891)
“สถานที่ไว้สักการะ”
เป็นชื่อเรียกแบบสุภาพของสถานที่ไว้สักการะ (เป็นสถานที่ที่ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษสถิตอยู่)
“องค์จักรพรรดิเซวะ”
จักรพรรดิในช่วงต้นของสมัยเฮอัน เป็นพระโอรสคนที่ 4 ของจักรพรรดิมอนโทะคุ มารดาคือฟุจิวะระโนะอะคิระเคโคะ(ฟุจิวะระโนะเมชิ) มีชื่อว่า โคะเระฮิโตะ และมีชื่อเรียกอื่นว่า มิซุโนะโอะเท เนื่องจากยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงมีฟุจิวะระโนะโยะชิฟุซะซึ่งมีความสัมพันธ์เป็นตา มาทำหน้าที่ว่าราชการแทน(เซสโช) และเป็นผู้อุทิศตนให้กับศาสนาพุทธ และได้ทรงปรงผมออกบวชในปีที่ 3 ของรัชสมัยกังเกียว (ค.ศ. 879) โดยมีฉายาว่า โซะชิน (ครองราชย์ ปีค.ศ. 858~876) (850~880)
“พิธีในการยินยอมรับผู้ที่ออกบวชให้เป็นพระอย่างเต็มตัว ”
เป็นพิธีทางศาสนาที่สำคัญ เป็นพิธีที่จัดขึ้นตอนถ่ายทอดคำสอนของมิคเคียว และรับช่วงต่อตำแหน่งอะจะริ (Acharya) โดยพิธีนี้มีที่มาจากพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์และเจ้าชายของอินเดียในโบราณซึ่งจะทำการรดน้ำศีรษะ
“สถานที่ที่ทำการสักการะ”
เป็นอาคาร เช่น ศาลเจ้า เป็นต้น ที่อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถเพื่อทำการสักการะ
“หลังคาเป็นทรงที่เรียกว่าอิริโมะยะซึคุริ”
ด้านบนตรงกลางของอาคารหลักเป็นหลังคาหน้าจั่ว และชายหลังคายื่นยาวออกไปอีกทั้ง 4 ด้าน โดยทั้งหมดเป็นหลังคาเดียวกัน
“มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ”
หลังคาที่ใช้เปลือกของต้นสนฮิโนะคิโดยใช้ตะปูทำจากไม้ไผ่ยึดไว้
“ปั้นลมที่เรียกว่าแบบโนะคิคะระฮะฟุ ”
ปั้นลมปิดท้ายคะระฮะฟุที่ติดไว้เพื่อตบแต่งส่วนหนึ่งของชายคา ส่วนมากจะทำไว้ที่ทางเข้าของด้านหน้าอาคาร
“สมัยเฮอัน”
เป็นสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 400 ปี ตั้งแต่จักรพรรดิคันมุจัดตั้งเฮอันเป็นเมืองหลวงที่ประทับ (ค.ศ. 794) จนถึงมีการจัดตั้งรัฐบาลปกครองคะมะคุริ (ค.ศ. 1185) ซึ่งเป็นสมัยที่อำนาจปกครองมีศูนย์กลางอยู่ที่เฮอันเคียว (เกียวโต) โดยปกติจะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงต้นสมัย ช่วงกลางสมัย และช่วงท้ายสมัย หรือหมายถึง สมัยฟื้นฟูระบบการปกครอง(ริซึเรียว) สมัยผู้สำเร็จราชการ(เซคคัน) และสมัยอินเซ (ช่วงปลายสมัยเป็นการปกครองโดยตระกูลไทระ) หรือเรียกว่าเป็น สมัยเมืองเฮอัน