TEXT
READER

ประตูด้านหน้าของวัดมิอิเดระ เป็นประตูที่มีลักษณะแยกเป็น 3 ช่วงโดยมีทางเข้า 1 ประตูที่เรียกว่า ซังเกนอิคโคะ เป็นประตูวัด 2 ชั้นมีหลังคาเฉพาะชั้นบนเรียกว่า ประตูโรมอง มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ แต่เดิมเป็นประตูของวัดโชระคุจิ ที่ตั้งอยู่ในเมืองโคะนัน จังหวัดชิกะ และถูกย้ายไปที่ปราสาทฟุชิมิ โดยท่าน โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ และได้มีการถวายให้กับวัดมิอิเดระโดยท่าน โทคุกะวะ อิเอะยะซุ ในปีที่ 6 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1601)
เป็นประตูที่สร้างขึ้นในปีที่ 4 ของรัชสมัยโฮโทะคุ (ค.ศ. 1452) มีแท่นรองน้ำหนักแกะสลักเรียกว่าคะเอะรุมะตะ และคันทวยที่เป็นตัวค้ำยันหลังคาที่เรียกว่าคุมิโมะโน ที่แสดงเอกลักษณ์ของสมัยมุโระมัจจิ ทั้งสองข้างของประตูมีรูปปั้นพระวัชรปราณีแกะสลักที่ทำขึ้นในปีที่ 3 ของรัชสมัยโคโช (ค.ศ. 1457) ตั้งอยู่ เหมาะสมกับการเป็นประตูด้านหน้าของวัดเก่าแก่ที่ตั้งมานานกว่า 1300 ปี

“ซังเกนอิคโคะ”

ซังเกนอิคโคะ

“มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ”

มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ

หลังคาที่ใช้เปลือกของต้นสนฮิโนะคิโดยใช้ตะปูทำจากไม้ไผ่ยึดไว้

“ประตูโรมอง”

ประตูโรมอง

ประตู 2 ชั้น โดยชั้นล่างไม่มีหลังคา มีชุดไม้ประกอบที่เรียกว่าโคะชิกุมิ รองระเบียงที่ล้อมรอบประตู และมีหลังคาเฉพาะชั้นบน

“วัดโชระคุจิ”

เป็นวัดเก่าของนิกายเทนไดที่ตั้งอยู่ที่นิชิเทะระ เมืองโคะนัน เป็นวัดสักการะลำดับแรกของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์โอมิไซโกะคุ โดยทั่วไปเรียกวัดนี้ว่า "นิชิเดะระ" ถูกก่อตั้งโดยพระโรเบนในสมัยนารา มีการเล่าสืบต่อกันมาว่ามีความเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางของ "อะโบะชิยะมะ โกะเซนโบ" 5,000 วัดในเขาอะโบะชิยะมะ โดยมีการสืบทอดทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญเป็นจำนวนมาก เช่น พระอุโบสถที่มีพระโพธิสัตว์พันมือซึ่งปกติจะไม่เปิดตู้ให้ชม หรือเจดีย์สามชั้น ซึ่งทั้งสองเป็นสมบัติของประเทศ เป็นต้น

“โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ”

เป็นแม่ทัพในสมัยอะซุจิโมะโมะยะมะ โดยเริ่มต้นจากการเป็นผู้รับใช้ของโอะดะ โนะบุนะกะ และเสนอชื่อขึ้นเป็นผู้สืบทอดคนแรกหลังจากที่โนะบุนะกะเสียชีวิตในเหตุการณ์ฮอนโนจิโนะเฮน ที่เกิดขึ้นในปีที่ 10 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1582) และสามารถชนะฝ่ายศัตรู ทำให้รวมประเทศได้ โดยฮิเดโยชิได้เริ่มก่อสร้างปราสาทโอซาก้าในปีที่ 11 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1583) โดยปราสาทดูจากภายนอกมี 5 ชั้นและมี 8 ชั้นด้านใน ที่คู่ควรกับผู้ที่สามารถรวบรวมประเทศให้เป็นหนึ่งได้ และในสมัยนั้นที่เรียกฮิเดโยชิว่าโฮไทโค ก็ถือเป็นสมัยที่วัฒนธรรมโมะโมะยะมะที่สวยงามหรูหราอยู่ในช่วงรุ่งเรือง ทั้งพิธีชงชา และภาพวาดของกลุ่มคะโน

ความสัมพันธ์กับวัดมิอิเดระนั้นถือว่าดี แต่ในช่วงบั้นปลายชีวิต ปีที่ 4 ของรัชสมัยบุนโระคุ (ค.ศ. 1595) ได้มีคำสั่งให้ยึดและปิดวัดมิอิเดระอย่างกะทันหัน และหลังจากฮิเดโยชิเสียชีวิตไปในเดือนสิงหาคม ปีที่ 3 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1598) ท่านคิตะโนะมังโดะโคะโระ ภรรยาเอกของฮิเดโยชิ ก็ได้เป็นผู้ฟื้นฟูวัดมิอิเดระ

“ปราสาทฟุชิมิ”

ปราสาทที่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิให้สร้างขึ้นบนเขาฮิกะชิฟุชิมิ ในเขตฟุชิมิ เมืองเกียวโต โดยเริ่มสร้างขึ้นในปีที่ 1 ของรัชสมัยบุนโระคุ (ค.ศ. 1592) แต่ได้พังลงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปีค.ศ. 1596 และได้ถูกย้ายไปสร้างที่เขาโคะฮะตะโดยเป็นจุดตรวจผ่านทางเข้าเมืองเกียวโต หลังจากนั้นถูกยุบปราสาทลงโดยรัฐบาลปกครองเอะโดะ และมีการย้ายสิ่งก่อสร้างต่างๆไปยังวัดไดโทะคุจิ วัดนิชิฮองกังจิ ศาลเจ้าโตะโยะคุนิ เป็นต้น มาจนถึงปัจจุบัน

“โทคุกะวะ อิเอะยะซุ”

แม่ทัพโชกุนคนแรกของตระกูลโทคุกะวะ (ครองตำแหน่ง 1603~1605) เคยรับใช้อิมะกะวะ โยะชิโมะโตะ และหลังจากนั้นผูกสัมพันธ์กับโอะดะ โนะบุนะกะ และคืนดีกับโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ โดยในปีที่ 18 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1590) ถูกให้ไปครอง 8 เมืองด้านตะวันออก (คันโต) และได้เข้าอยู่ในปราสาทเอะโดะ โดยหลังจากที่ฮิเดโยชิเสียชีวิตไป ก็ได้เข้าไปปกครองการเมืองที่ปราสาทฟุชิมิ โดยในปีที่ 5 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1600) ได้ทำศึกและรบชนะอิชิดะ มิซึนะริในการรบเซะคิกะฮะระ ทำให้ได้รับแต่งตั้งเป็นโชกุน (เซอิไทโชกุน) และได้ทำการเปิดรัฐบาลปกครองเอะโดะในปีค.ศ. 1603 หลังจากนั้นไม่นานก็ได้สละตำแหน่งโชกุนให้กับโทคุกะวะ ฮิเดะทะดะ และได้รับเรียกเป็น โอโกะโชะ แม้จะย้ายไปอยู่ที่ซุนปุหลังสละตำแหน่งโชกุนไปแล้วก็ตามในปีค.ศ. 1607 แต่ก็ยังมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องการเมืองที่สำคัญเอง โดยเป็นผู้โค่นล้มตระกูลโทโยโทมิในศึกโอซาก้าโนะจิน และเป็นผู้สร้างฐานการปกครองแบบโชกุนที่สืบทอดกันยาวนานกว่า 260 ปี โดยมีชื่อเรียกหลังจากที่เสียชีวิตแล้วคือ โตโชไดกอนเกน (1542~1616)

“คะเอะรุมะตะ”

คะเอะรุมะตะ

เป็นส่วนที่วางขั้นระหว่างไม้ 2 ท่อนที่ขนานกัน โดยจะมีลักษณะงอโค้งออกไปด้านนอกมีรูปทรงเหมือนกับง่ามขาของกบ และมีอีกอย่างที่สันนิษฐานกันก็คือมาจากปลายดอกธนูที่มีรูปทรงเป็น 2 ง่าม ที่เรียกว่าคะริมะตะ

“คุมิโมะโน”

คุมิโมะโน

โดยทั่วไปอยู่ข้างบนเสา โดยจะเป็นการประกอบเข้ากันของตัวรองอเสที่เรียกว่ามะสุ และตัวรับน้ำหนักจากต้านบนที่เรียกว่าฮิจิคิ ซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวรองรับอเสที่รองรับจันทัน โดยมีชื่อเรียกอื่นว่า โทะเคียว หรือ มะสุคุมิ

“พระวัชรปราณี”

พระวัชรปราณี
สมัยมุโระมัจจิ (ปีที่ 4 ของรัชสมัยโฮโทะคุ ค.ศ. 1452)