การนมัสการพระโพธิสัตว์กวนอิมและวิหารคันนงโดของวัดมิอิเดระ
วิหารคันนงโดของวัดมิอิเดระ ตั้งอยู่บนทำเลที่สวยงาม มองเห็นวิวทะเลสาบบิวะโคะและเมืองโอสึ เป็นวัดสักการะลำดับที่ 14 ของ 33 วัดคันนงภาคตะวันตกของญี่ปุ่น โดยรายล้อมไปด้วยโบราณสถานสำคัญ เช่น หอระฆัง หอคันนงร้อยองค์ เวทีคังเก็ตสึ และวิหารเอมาโด ซึ่งยังคงรักษาสภาพของวัดแสวงบุญในสมัยเอะโดะไว้อย่างสมบูรณ์
เดิมทีนั้น ในปีค.ศ. 1072 (เอ็นคิว 4) มีการอัญเชิญพระจินดามณีจักรโพธิสัตว์ในท่านั่ง(ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญ) ไปประดิษฐานไว้ที่หุบเขาฮานะโนะทานิ ภูเขานาการะ เพื่ออธิษฐานขอให้องค์จักรพรรดิโกะซังโจ (ค.ศ. 1034-1073) หายจากพระอาการประชวร และต่อมาได้ถูกย้ายมายังตำแหน่งปัจจุบันในช่วงยุคบุนเมอิ (ค.ศ. 1469-1486)
ตามพระสูตรคันนง พระโพธิสัตว์กวนอิมสามารถแปลงกายได้ 33 รูป เพื่อนำพาสรรพสัตว์ไปสู่ความหลุดพ้น และเชื่อกันว่าการสักการะพระโพธิสัตว์กวนอิมเริ่มต้นขึ้นจากความปรารถนาที่จะได้รับพรจากพระองค์
กล่าวกันว่า เส้นทางแสวงบุญ 33 วัดทางตะวันตก เริ่มต้นจากการแสวงบุญของพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิจากวัดมิอิเดระ ได้แก่ เกียวซง (ค.ศ. 1055-1135) และคาคุจู (ค.ศ. 1118-1177) ซึ่งได้บันทึกการแสวงบุญครั้งแรกในสมัยเฮอัน
ปัจจุบัน เส้นทางแสวงบุญ 33 วัดทางตะวันตก ประกอบด้วย 33 วัดหลัก และอีก 3 วัดเสริม ซึ่งกระจายอยู่ในหกจังหวัดในภูมิภาคคินกิและจังหวัดกิฟุ และในปี 2019 (ปีเรวะที่ 1) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น” ในฐานะเส้นทางแสวงบุญที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น
เสียงบรรยาย
เสียงบรรยายกำลังเล่นอยู่
*โปรดเพลิดเพลินไปกับเสียงบรรยายโดยใช้หูฟังของคุณ และระวังอย่ารบกวนผู้อื่น
ไอเซ็น เมียวโอ
วัดบิเมียวจิ
จิคาระเคน
ขนมเบนเคอิ จิคาระโมจิ
สมัยเมจิ
ปีต.ศ. 1868–1912.
คานเชื่อม
ระยะทางตั้งแต่พื้นของประตูจนถึงคานบน
เตาหิน
แผ่นไม้จารึก(เอมะ)
ในสมัยโบราณ เมื่อผู้คนสวดมนต์ต่อเทพเจ้าชินโตและศาสนาพุทธ ผู้คนมักจะบริจาคม้าศักดิ์สิทธิ์ แต่ต่อมาก็เริ่มมีการถวายแผ่นไม้วาดเป็นรูปม้า และในภายหลังก็เริ่มมีการวาดภาพนักษัตรจีนและลวดลายอื่นๆ
คลองทะเลสาบบิวะ
คลองส่งน้ำจากทะเลสาบบิวะไปยังเกียวโต โดยเฉพาะคลองสายแรกที่สร้างเสร็จในปี 1890 และคลองสายที่สองที่สร้างเสร็จในปี 1912 ซึ่งนอกจากจะใช้ในการขนส่งแล้วยังใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำและระบบประปา ทำให้เมืองเกียวโตเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
มุงหลังคาด้วยเปลือกของต้นสนฮิโนะคิ
หลังคาที่ใช้เปลือกของต้นสนฮิโนะคิโดยใช้ตะปูทำจากไม้ไผ่ยึดไว้
รูปแกะสลักบนเรือ(รูปปั้นที่ประดิษฐานอยู่บนเรือ)
คาเคซึคุริ
การก่อสร้างอาคารบนพื้นที่ที่มีความลาดชันโดยใช้วิธีการยึดเสาและคานยาวๆ เข้ากับพื้นดิน
ซังคะวะระ
เป็นการมุงหลังคาโดยใช้กระเบื้องหลังคาที่โค้งเหมือนคลื่นแค่เพียงชนิดเดียว โดยถูกค้นคิดวิธีการมุมกระเบี้องนี้ในสมัยเอะโดะ การมุมหลังคาแบบนี้จะเรียกว่า คันเรียคุกะวะระ(หลังคาแบบย่อง่าย) เป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำเมื่อเทียบกับการทำหลังคาแบบปกติในสมัยนั้น โดยในปัจจุบันบ้านเรือนและที่อยู่อาศัยต่างๆโดยปกติก็จะเป็นการมุงหลังคาแบบซังคะวะระนี้
โฮเกียวซึคุริ
เป็นหลังคาชนิดหนึ่ง ของอาคารที่สร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส โดยมุมแหลมของหลังคาจะมาประจบกันที่กลางห้อง อาจจะเขียนด้วยคันจิญี่ปุ่นอีกอย่างหนึ่งแต่คำอ่านเหมือนกัน
การเดินทางแสวงบุญ ไซโกกุ ชิชิบุ และบันโดคันนง
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคันนงทั้ง 100 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยเส้นทางแสวงบุญไซโกกุ 33 แห่ง, เส้นทางแสวงบุญชิชิบุ 34 แห่ง และเส้นทางแสวงบุญบันโด 33 แห่ง
หางจันทัน
คานไม้เอียงที่ยื่นลงมาในแนวทแยงจากโครงสร้างค้ำยัน
คะเอะรุมะตะ
เป็นส่วนที่วางขั้นระหว่างไม้ 2 ท่อนที่ขนานกัน โดยจะมีลักษณะงอโค้งออกไปด้านนอกมีรูปทรงเหมือนกับง่ามขาของกบ และมีอีกอย่างที่สันนิษฐานกันก็คือมาจากปลายดอกธนูที่มีรูปทรงเป็น 2 ง่าม ที่เรียกว่าคะริมะตะ
มิโนสึกะ
โครงสร้างรองรับคล้ายรูปพู่กันที่ส่วนบนประดับด้วยลวดลายพืช
ส่วนประกอบตกแต่ง
ชิ้นส่วนรองรับที่ตั้งอยู่ระหว่างชุดคานไม้ประดับ โดยมีหน้าที่หลักในการรองรับโครงสร้างต่างๆ แต่ยังมีความสวยงามสูงด้วย
ระเบียงไม้ที่มีขอบตัด
เป็นประเภทของระเบียงไม้แบบหนึ่ง แผ่นไม้วางตั้งฉากกับขอบระเบียง โดยให้ด้านที่ตัดแล้วหันออกด้านนอก แบบนี้พบเห็นได้ในระเบียงที่เปียกน้ำบ่อยๆ
ราวกั้น
เป็นราวจับติดตั้งไว้รอบขอบทางเดินเพื่อป้องกันการพลัดตกลงไปด้านล่าง
สามชั้นสไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่าวะโยมิเทะซะคิ
เมื่อมองจากด้านข้าง จะเห็นโทะเคียวยื่นออกมาด้านนอกสามแถวจากกำแพง
ส่วนที่ยื่นออกมา
ฐานที่ขยายออกของหอระฆังและหอกลอง
ฐานของหอคอย
เพื่อเป็นฐานรากก่อสร้างปราการปราสาทจึงสร้างให้สูงกว่าบริเวณโดยรอบและประกอบด้วยกำแพงหินหลายชั้น
ประตูซังคะระโตะ
ประตูที่ทำโครงอยู่ด้านในของกรอบประตู และมีแผ่นไม้บางหรือมีลายไม้ระแนงใส่ประกอบเข้าในโครงประตู
ประตูโรมอง
ประตู 2 ชั้น โดยชั้นล่างไม่มีหลังคา มีชุดไม้ประกอบที่เรียกว่าโคะชิกุมิ รองระเบียงที่ล้อมรอบประตู และมีหลังคาเฉพาะชั้นบน
สไตล์เซน
เป็นสไตล์สิ่งก่อสร้างที่นำมาโดยพระของนิกายเซนเป็นหลักจากประเทศจีนในช่วงต้นของสมัยคะมะคุระ จะมีชื่อเรียกอื่นว่า คะระโย
หอระฆัง
สิ่งก่อสร้างในบริเวณวัดสำหรับแขวนระฆังวัด
หกจังหวัดในภูมิภาคคินกิ
จังหวัดเกียวโต จังหวัดโอซาก้า จังหวัดเฮียวโกะ จังหวัดชิกะ จังหวัดนารา จังหวัดวากายามะ
คาคุจู
ภิกษุในช่วงปลายสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794-1185) มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1118 ถึง 1177 บุตรชายของฟูจิวาระ โนะ ทาดามิจิ ศึกษาธรรมะภายใต้การอุปัฏฐากของ โซชิ ที่วัดมิอิเดระ ดำรงตำแหน่งพระอาจารย์ในพิธีบรรพชาของจักรพรรดิโกะ-ชิราคาวะ ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสของนิกายเทนได และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้ดูแลวัดออนโจ-จิ ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้รับแต่งตั้งเป็นพระมหาเถระ (ไดโซโจ) และเป็นที่รู้จักในฐานะกวี
เกียวซง
ภิกษุและนักกวีในสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794-1185) และเป็นพระราชโอรสในรุ่นหลานของจักรพรรดิซันโจ มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1057 ถึง 1135 บุตรชายของรองที่ปรึกษา มินาโมโตะ โนะ โมโตฮิระ อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดมิอิเดระตั้งแต่อายุ 12 ปี ภายหลังจากการฝึกตนอย่างเข้มงวดบนภูเขาโอมิเน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระภิกษุจาก ไรโกะ เมื่ออายุ 25 ปี ชื่อเสียงของท่านโด่งดังขึ้นเนื่องจากมีผู้เลื่อมใสในพุทธคุณจากการสวดมนต์ของท่าน ทำให้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระภิกษุผู้พิทักษ์จักรพรรดิโทบะ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลและเจ้าอาวาสของวัดออนโจ-จิ มีชื่อเสียงในด้านการเขียนพู่กันจีน การเล่นเครื่องดนตรีบิวะ และการประพันธ์โคลงวาเกะ โดยผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นในช่วงฝึกตนบนภูเขาโอมิเน ได้รับการยกย่องจากคนรุ่นหลังว่าเป็นต้นแบบของรูปแบบบทกวีของไซเกียว
สมัยเฮอัน
เป็นสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 400 ปี ตั้งแต่จักรพรรดิคันมุจัดตั้งเฮอันเป็นเมืองหลวงที่ประทับ (ค.ศ. 794) จนถึงมีการจัดตั้งรัฐบาลปกครองคะมะคุริ (ค.ศ. 1185) ซึ่งเป็นสมัยที่อำนาจปกครองมีศูนย์กลางอยู่ที่เฮอันเคียว (เกียวโต) โดยปกติจะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงต้นสมัย ช่วงกลางสมัย และช่วงท้ายสมัย หรือหมายถึง สมัยฟื้นฟูระบบการปกครอง(ริซึเรียว) สมัยผู้สำเร็จราชการ(เซคคัน) และสมัยอินเซ (ช่วงปลายสมัยเป็นการปกครองโดยตระกูลไทระ) หรือเรียกว่าเป็น สมัยเมืองเฮอัน
พระสูตรคันนง
ชื่ออีกชื่อหนึ่งของบทบทหนึ่งในพระสูตรดอกบัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "บทสวดมนต์บทที่ 25 แห่งพระสูตรดอกบัว" บทสวดมนต์นี้กล่าวถึงพุทธคุณของคันนง และมีความเชื่อว่า หากมีความศรัทธาในความเมตตาของคันนง และสวดมนต์เรียกพระนามของพระองค์ พระองค์จะช่วยคุ้มครองและนำพาให้พ้นทุกข์
องค์จักรพรรดิโกะซังโจ
จักรพรรดิในช่วงกลางของสมัยเฮอัน เป็นพระโอรสคนที่ 2 ของจักรพรรดิโกะซุซะคุ มีชื่อว่า ทะคะฮิโตะ เป็นผู้สยบอำนาจของตระกูลฟุจิวะระ และก่อตั้งหน่วยงานบันทึกเพื่อจัดระเบียบการครอบครองที่ดิน ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงแก้ไขความไม่ถูกต้องทางการปกครองที่มีมาแต่ก่อนหน้านี้ (ครองราชย์ ปีค.ศ. 1068~1072) (1034~1073)
สมัยเอะโดะ
เป็นชื่อเรียกสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 260 ปี ตั้งแต่ที่โทคุกะวะ อิเอะยะซุได้ชัยชนะจากการรบเซะคิกะฮะระในปีที่ 5 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1600) และได้จัดตั้งรัฐบาลปกครองที่เอะโดะในปีค.ศ. 1603 จนถึงปีที่ 3 ของรัชสมัยเคโอ (ค.ศ. 1867) ที่โทคุกะวะ โยะชิโนะบุทำการคืนอำนาจการปกครองกลับไปให้จักรพรรดิ จะเรียกว่า สมัยโทคุกะวะ
ทะเลสาบบิวะโคะ
ทะเลสาบที่เกิดจากรอยเลื่อนที่อยู่กลางจังหวัดชิกะ มีพื้นที่ 670.3 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ระดับความสูงของผิวน้ำ 85 เมตร และมีความลึกสูงสุด 104 เมตร มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามเป็นอย่างยิ่ง สามารถเก็บน้ำได้เป็นจำนวนมาก จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น การประปา การชลประธาน การขนส่ง การผลิตไฟฟ้า และการประมง เป็นต้น ในทะเลสาบมีเกาะกลางน้ำ เช่น เกาะโอะคิชิมะ เกาะชิคุบุชิมะ ทะเคะชิมะ เกาะโอะคิโนะชิระอิชิ เป็นต้น (ชิมะ หมายถึง เกาะ) จะมีชื่อเรียกอื่นว่า ทะเลโอมิ ทะเลนิโอะ
อิชิสึคิโนะสึ
รูปแกะสลัก เร็นเนียวโชนิน
รูปแกะสลัก ชินรันโชนิน
เกะจิน
ไนจิน
เพิงหลังคา
ส่วนที่ยื่นออกมาของหลังคาบริเวณหน้าบันไดของศาลเจ้าหรือวิหาร เพื่อให้พระสงฆ์และผู้ที่มาสักการะสามารถทำเคารพบูชาได้โดยตรง
ฮองกะวะระบุคิ
เป็นวิธีมุงหลังคาสลับกันไปมาด้วยกระเบื้องรูปทรงเว้า และทรงนูน ซึ่งเป็นวิธีมุงหลังคาที่มีประวัติมายาวนานตั้งแต่เริ่มสร้างวัดอะซุคะเดระซึ่งถือเป็นวัดที่มีการสร้างอย่างจริงจังวัดแรกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงปลายศตรวรรษที่ 6
หลังคาเป็นทรงที่เรียกว่าอิริโมะยะซึคุริ
ด้านบนตรงกลางของอาคารหลักเป็นหลังคาหน้าจั่ว และชายหลังคายื่นยาวออกไปอีกทั้ง 4 ด้าน โดยทั้งหมดเป็นหลังคาเดียวกัน
สมัยเกนโรคุ
ยุคเก็นโรคุ เป็นช่วงเวลาหนึ่งในสมัยเอโดะตอนกลาง (ค.ศ. 1688-1704) ในรัชสมัยของโชกุนคนที่ 5 โทคุงาวะ ซึนายอชิ (ค.ศ. 1680-1709) ถือเป็นช่วงที่อำนาจของโชกุนสูงสุด โดยเน้นนโยบายการปกครองแบบพลเรือน ในช่วงเวลานี้ เกษตรกรรมและการค้าขายเจริญรุ่งเรือง พร้อมกับการเติบโตของชนชั้นเมือง บรรยากาศแห่งความสดใหม่แพร่หลายไปทั่วในวงการวิชาการและวัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมเก็นโรคุอันหรูหรา
นกมงคล
คานโค้ง
คานโค้งขึ้นไปด้านบน ทำให้นึกถึงรุ้งกินน้ำ
ผ้าไหมทอง
เทคนิคการตกแต่งที่ใช้กับเสาและโครงสร้างอื่นๆ จิตรกรรมตกแต่งลายคล้ายผ้าไหมบนยอดประตูวัดและเสาภายในศาลเจ้า
แท่นบูชา
แท่นบูชาสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ
ไอโนะมะ
สถานที่นี้อาคารเชื่อมต่อกันภายใต้หลังคาเดียวกัน
ไรโด
สถานที่ที่รองรับผู้ที่เข้ามาสักการะ
โชโด
สถานที่ที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลัก
รูปแกะสลักที่บรรจุอัฐิของไดชิ (โอโคสึไดชิ)
รูปปั้นนั่งของชิโชไดชิ ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ หลังจากไดชิสิ้นพระชนม์ ได้มีการสร้างรูปปั้นจำลองขึ้น และอัฐิของพระองค์ได้ถูกประดิษฐานอยู่ภายในรูปปั้น จนถึงทุกวันนี้ รูปปั้นนี้ยังคงได้รับการประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในห้องโถงไดชิโดของโทอินตามความปรารถนาสุดท้ายของไดชิ
สมัยคะมะคุระ
เป็นสมัยที่มีระยะเวลาประมาณ 150 ปี ตั้งแต่มินะโมะโตะโนะโยะริโทะโมะก่อตั้งรัฐบาลปกครองที่คะมะคุระ จนถึงการเสียชีวิตของโฮโจ ทะคะโทะคิ ในปีที่ 3 ของรัชสมัยเกนโค (ค.ศ. 1333)
แบบคะระคุสะ
หมายถึงลวดลายของพืชที่ออกแบบขึ้นเพื่อแสดงรูปร่างของใบ ลำต้น หรือไม้เลื้อยที่พันกันหรือแผ่กว้าง โดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้หมายถึงสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ
ไม้ท่อนเดียว(อิจิโบคุสึคุริ)
เทคนิคการแกะสลักไม้ที่การแกะสลักส่วนสำคัญของรูปปั้น เช่น หัวและลำตัว จากไม้เพียงชิ้นเดียว
ขอบชายจีวร
วัดคังกาคุอิน
รูปปั้นจูซงไดชิ
โทอิน
พระจิโชไดชิ
เกิดในเมืองเซนซือจิ จังหวัดคะกะวะ(สถานที่ปัจจุบัน) ในปีที่ 5 ของรัชสมัยโคนิน (ค.ศ. 814) บิดาเป็นคนของตระกูลวะเคะ มารดาเป็นลูกของญาติพี่น้องของพระคูไค โดยขึ้นเขาฮิเอตอนอายุ 15 ปี และเข้าเป็นศิษย์ของพระกิชิน(ค.ศ. 778~833) เมื่ออายุได้ 40 ปี ในปีที่ 3 ของรัชสมัยนินจุ (ค.ศ. 853) ได้เดินทางไปที่ประเทศจีน (ราชวงศ์ถัง) โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ของเทนไดและมิคเคียว ที่เขาเทนไดและชางอัน แล้วจึงนำมาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น โดยได้เก็บพระคัมภีร์ที่นำกลับมาจากประเทศจีนไว้ที่วัดโตอินในวัดมิอิเดระ ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสคนแรก และได้สถาปนาให้วัดมิอิเดระเป็นวัดสาขาของนิกายเทนได ซึ่งถือเป็นผู้วางรากฐานของการเป็นวัดสำนักใหญ่ของสายจิมอนในเวลาต่อมา โดยในปีที่ 10 ของรัชสมัยโจกัง (ค.ศ. 868) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานนิกายเทนไดคนที่ 5 โดยท่านได้อุทิศตนเพื่อความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธเป็นเวลานานถึงกว่า 23 ปี ก่อนที่จะถึงแก่มรณภาพในวันที่ 29 ตุลาคม ปีที่ 3 ของรัชสมัยคัมเปียว (ค.ศ. 891)
ผ้าจีวร
มงกุฎสิงห์
โจกัง
การแสดงถึงการแกะสลักดวงตาในรูปปั้นไม้
โยเซกิ-สึคุริ
เทคนิคการแกะสลักไม้ซึ่งใช้ไม้หลายชิ้นมาประกอบกันเพื่อสร้างส่วนหัวและลำตัวของรูปปั้น วิธีการนี้เกี่ยวข้องกับการเจาะส่วนภายในเพื่อลดน้ำหนัก ทำให้สามารถสร้างรูปปั้นขนาดใหญ่โดยใช้ไม้เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกมากมาย เทคนิคนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของญี่ปุ่น และได้รับการปรับปรุงตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794–1185)
ท้าวเวสวัณ
เป็นหนึ่งในจาตุมหาราชิกา และหนึ่งใน 12 เทพ โดยถือเป็นเทพที่อาศัยอยู่ด้านเหนือของทางที่จะเดินทางไปเขาพระสุเมรุ ทำการปกป้องโลกทางด้านเหนือ โดยมียัจฉะ รัคชะสะ เป็นบริวาร และถือเป็นเทพแห่งการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สมบัติ จะเห็นเทพมีใบหน้าที่แสดงความพิโรธสวมชุดเกราะนักรบ มือข้างหนึ่งถือเจดีย์สมบัติ และอีกมือหนึ่งถือหอกหรือกระบองสมบัติไว้ เป็นหนึ่งในเจ็ดเทพแห่งโชคลาภของญี่ปุ่นด้วย และยังมีชื่อที่แปลมาอย่างอื่นอีกว่า เทนมอนเทน โดยจะใช้ชื่อนี้ในกรณีที่เรียกในฐานะหนึ่งของจาตุมหาราชิกา โดยมีชื่อเรียกอื่นว่า คุบิระ (ท้าวกุเวร) และในตำนานของอินเดียถือเป็นเทพแห่งทรัพย์สมบัติ
พระจินดามณีจักรโพธิสัตว์ในท่านั่ง
"รูปปั้นที่มี 1 ใบหน้า และ 6 แขน สร้างจากการประกอบไม้เข้าด้วยกัน(โยะเซะกิ ซึคุริ) ทำดวงตาจากการแกะสลัก เป็นรูปปั้นที่ลงรักปิดทอง รูปปั้นสวยและสง่างามโดยมีลักษณะใบหน้าที่กลมและเอียงไปทางขวา มือขวามือหนึ่งมีนิ้วแตะอยู่ที่แก้มด้วยด้านหลังมือ อยู่ในท่าที่เข่าด้านขวาตั้งอยู่ มงกุฎขนาดใหญ่ที่แกะเป็นลายฉลุและสร้อยประดับที่สวมอยู่เป็นสิ่งที่ถูกสวมในภายหลัง"
คันนงโด
33 วัดคันนงภาคตะวันตกของญี่ปุ่น
33 วัดที่นับถือพระคันนง(พระโพธิสัตว์)ที่อยู่ใน 6 จังหวัดในแถบคิงคิ และจังหวัดกิฟุ ถือเป็นเส้นทางแสวงบุญที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ในปัจจุบันก็ยังมีคนเป็นจำนวนมากเดินทางมาสักกาะระอยู่ โดยในบันทึก "จิมองโคโซคิ" ซึ่งเป็นบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่ทำการบันทึกการเดินทางแสวงบุญของพระเกียวซอน(1055~1135) และพระคะคุจู(1118~1177) ซึ่งเป็นพระของวัดมิอิเดระในสมัยเฮอัน โดยวัดมิอิเดระมีบทบาทเป็นอย่างยิ่งในการกำหนด 33 วัดภาคตะวันตกของญี่ปุ่นนี้ เมื่อถึงสมัยมุโระมัจจิ การเดินทางแสวงบุญในภาคตะวันตกนี้ได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไป จนมีการตั้ง "วัดคัดลอกจากภาคตะวันตก" ในทั่วประเทศเช่น 33 วัดบันโดในแถบคันโต และ 33 วัดชิชิบุ เป็นต้น และในปี 2019 ได้มีการกำหนดให้ "การเดินทางแสวงบุญที่ 33 วัดคันนงภาคตะวันตกของญี่ปุ่น การเดินทางส่งท้ายชีวิตของญี่ปุ่นที่ทำกันต่อเนื่องมา 1300 ปี" เป็นมรดกประเทศญี่ปุ่น