TEXT
READER

ถูกสร้างขึ้นในปีที่ 2 ของรัชสมัยเกนนะ (ค.ศ. 1616) แต่เดิมตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของเรือนกุฏินันโช ของวัดบิโซจิซึ่งถือเป็นหนึ่งในห้าวัดสำนักของวัดมิอิเดระ และได้ถูกย้ายไปที่วัดนันอินที่ตั้งอยู่ในวัดมิอิเดระในปีที่ 42 ของรัชสมัยเมจิ (ค.ศ. 1909) และถูกย้ายอีกครั้งมาตั้งไว้ ณ ที่ปัจจุบันในตอนที่ทำการรื้อวิหารเพื่อซ่อมแซมในปีที่ 31 ของรัชสมัยโชวะ (ค.ศ. 1956)
เป็นวิหารพุทธสไตล์ที่เรียกว่าเซจจู คือมีสไตล์เซนเป็นพื้นฐานและมีการนำสไตล์ของญี่ปุ่นเช่น คันทวยที่เป็นตัวค้ำยันหลังคาที่เรียกว่าคุมิโมะโน เป็นต้น มาผสมผสานกัน โดยมีท้าวเวสวัณประดิษฐานอยู่ภายใน มีลวดลายสวยงามที่ละเอียดได้รับอิทธิพลจากสมัยโมะโมะยะมะที่จะเห็นได้จากลายฉลุรูปดอกไม้ เป็นต้น ที่ประตูซังคะระโตะที่เป็นลายกั้นในทั้งแนวตั้งและแนวนอนที่ด้านหน้าทางเข้า โดยในปีที่ 1 ของรัชสมัยเฮเซ (ค.ศ. 1989) ได้ทำการซ่อมแซมทาสีสดใสเหมือนในอดีต

“ห้าวัดสำนักของวัดมิอิเดระ”

วัดในสำนักของวัดมิอิเดระ คือวัดที่ตั้งอยู่รอบๆวัดมิอิเดระเพื่อทำหน้าที่บรรเทาทุกข์ของผู้คนให้ได้มากที่สุดตั้งแต่สมัยเฮอันเป็นต้นมา โดยห้าวัดสำนักของวัดมิอิเดระ(โกะเบชโชะ) คือชื่อเรียกรวมของ 5 วัด ได้แก่ วัดกอนโชจิ, วัดบิเมียวจิ, วัดบิโซจิ, วัดซุยคันจิ, วัดโจไซจิ
โดยทั่วไปแล้ว คำว่าวัดในสำนักนั้นจะใช้กับสถานที่ทางศาสนาที่อยู่ห่างออกไปจากวัดสำนักใหญ่โดยมีวัดสำนักใหญ่ให้การสนับสนุน และยังหมายถึงสถานที่ที่นักบวชที่แยกตัวออกจากทางโลก หรือพระธุดงค์และผู้ปฏิบัติธรรมในภูเขามารวมตัวกัน

“วัดบิโซจิ”

เป็นหนึ่งในห้าของวัดในสำนักของวัดมิอิเดระ มีการเล่าสืบต่อกันมาว่าพระเคโซ อะจะริ(ตำแหน่งพระอาจารย์)(ค.ศ.955~1019) ของวัดมิอิเดระในสมัยเฮอัน เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นโดยได้อัญเชิญพระโพธิสัตว์ 11 หน้าจากวัดชิกะเดระที่มีสัมพันธ์กับจักรพรรดิเทนจิมาเป็นพระประธาน โดยในสมัยเอะโดะมีผู้ที่นับถือต้องการมาไหว้สักการะพระโพธิสัตว์ (คันนง) นี้เป็นจำนวนมากทำให้คนเบียดแน่นกันจนหมวกที่สวมมาชนหลุดตกไป จึงมีชื่อเรียกว่า "คะซะนุเกะโนะคันนง" (คะซะ หมายถึงหมวก, นุเกะ หมายถึงหลุด) ที่ได้รับการนับถือเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันพระโพธิสัตว์ 11 หน้านี้ถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญ และจัดแสดงไว้ในหอเก็บทรัพย์สินทางวัฒนธรรมวัดมิอิเดระ สำหรับวัดบิโซจินั้นได้ปิดวัดลงไปสมัยเมจิ โดยพื้นที่บริเวณนั้นได้ถูกเปลี่ยนไปเป็น "สวนสาธารณะนะกะระ" โดยเทศบาลเมืองโอซึ และในปีที่ 7 ของรัชสมัยเฮเซ (ค.ศ. 1995) ได้เปิดอาคารจัดแสดงผลงานสร้างสรรค์นะกะระ เมืองโอซึ / พิพิธภัณฑ์ มิซึฮะชิ เซะซึโคะ ซึ่งได้กลายเป็นสวนสาธารณะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มีผู้คนให้ความสนใจมาใช้บริการกันมากเพราะอยู่ใกล้ใจกลางเมือง

“สไตล์เซน”

เป็นสไตล์สิ่งก่อสร้างที่นำมาโดยพระของนิกายเซนเป็นหลักจากประเทศจีนในช่วงต้นของสมัยคะมะคุระ จะมีชื่อเรียกอื่นว่า คะระโย

“คุมิโมะโน”

คุมิโมะโน

โดยทั่วไปอยู่ข้างบนเสา โดยจะเป็นการประกอบเข้ากันของตัวรองอเสที่เรียกว่ามะสุ และตัวรับน้ำหนักจากต้านบนที่เรียกว่าฮิจิคิ ซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวรองรับอเสที่รองรับจันทัน โดยมีชื่อเรียกอื่นว่า โทะเคียว หรือ มะสุคุมิ

“ท้าวเวสวัณ”

ท้าวเวสวัณ

เป็นหนึ่งในจาตุมหาราชิกา และหนึ่งใน 12 เทพ โดยถือเป็นเทพที่อาศัยอยู่ด้านเหนือของทางที่จะเดินทางไปเขาพระสุเมรุ ทำการปกป้องโลกทางด้านเหนือ โดยมียัจฉะ รัคชะสะ เป็นบริวาร และถือเป็นเทพแห่งการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สมบัติ จะเห็นเทพมีใบหน้าที่แสดงความพิโรธสวมชุดเกราะนักรบ มือข้างหนึ่งถือเจดีย์สมบัติ และอีกมือหนึ่งถือหอกหรือกระบองสมบัติไว้ เป็นหนึ่งในเจ็ดเทพแห่งโชคลาภของญี่ปุ่นด้วย และยังมีชื่อที่แปลมาอย่างอื่นอีกว่า เทนมอนเทน โดยจะใช้ชื่อนี้ในกรณีที่เรียกในฐานะหนึ่งของจาตุมหาราชิกา โดยมีชื่อเรียกอื่นว่า คุบิระ (ท้าวกุเวร) และในตำนานของอินเดียถือเป็นเทพแห่งทรัพย์สมบัติ

“ประตูซังคะระโตะ”

ประตูซังคะระโตะ

ประตูที่ทำโครงอยู่ด้านในของกรอบประตู และมีแผ่นไม้บางหรือมีลายไม้ระแนงใส่ประกอบเข้าในโครงประตู

“ลายฉลุรูปดอกไม้”

ลายฉลุรูปดอกไม้

เป็นสไตล์เซน จะมีให้เห็นอยู่มากที่ช่องลม(รันมะ)ของประตูซังคะระโตะ หรือในอาคารโชะอิน เป็นต้น โดยจะเรียกว่าฮะนะรันมะด้วยเพราะจะทำรูปทรงดอกไม้(ฮะนะ) ประกอบเข้าอยู่ในลายที่ละเอียดสวยงามที่เรียกว่าคุมิโคะด้วย งานทำคุมิโคะเหล่านี้จะเรียกว่า "ฮะนะคุมิโคะ" หรือ "ฮะนะโคะ"

“สมัยโมะโมะยะมะ”

เป็นช่วงสมัยหนึ่ง ที่มีระยะเวลาประมาณ 20 ปี ตั้งแต่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิมีอำนาจในการปกครองในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 16 ในด้านของประวัติศาสตร์ศิลปะถือเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากยุคกลางมาสู่ยุคปัจจุบันที่นับตั้งแต่สมัยอะซุจิโมะโมะยะมะมาจนถึงช่วงต้นสมัยเอะโดะ โดยเฉพาะการพัฒนาของสิ่งก่อสร้างต่างๆทั้งปราสาท บ้านพักขุนนาง วัดและศาลเจ้า รวมถึงภาพวาดบานประตูเลื่อนในอาคารเหล่านั้นด้วย และแพร่ขยายมาถึงภาพวาดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเทคนิคฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผา งานเคลือบภาชนะ และงานย้อมทอผ้า เป็นต้นด้วย

สมัยเอะโดะ (ปีที่ 2 ของรัชสมัยเกนนะ ค.ศ. 1616)