TEXT
READER

เป็นเจดีย์พุทธที่ท่าน โทคุกะวะ อิเอะยะซุ ได้ถวายให้วัดมิอิเดระในปีที่ 6 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1601) โดยก่อนหน้านั้นเป็นเจดีย์ฝั่งตะวันออกของวัดฮิโซะเดระ(ปัจจุบันคือวัดเซซอนจิ) ที่อยู่ในเขตโยะชิโนะ จังหวัดนารา และถูกย้ายไปตั้งไว้ที่ปราสาทฟุชิมิโดยท่าน โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ก่อนที่จะถูกย้ายมาติดตั้งที่นี่ ที่ฐานวางองค์พระชั้นล่างของเจดีย์มีองค์พระพุทธเจ้าและพระบริวารทั้ง 2 ข้างที่เรียกว่าชะคะซังซอนโซ ที่ช่างทำพระองค์ใหญ่ของเกียวโตชิชิโจชื่อโคออนทำขึ้นในปีที่ 9 ของรัชสมัยเกนนะ (ค.ศ. 1623)
เจดีย์มีความสูงประมาณ 25 เมตร ที่ระเบียงรอบนอกของทุกชั้นมีราวกั้น และใต้หลังคาใช้คันทวยที่เป็นตัวค้ำยันหลังคาที่เรียกว่าคุมิโมะโนแบบสามชั้นสไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่าวะโยมิเทะซะคิ แต่ที่หน้าต่างของชั้น 2 และ 3 ของเจดีย์เป็นลายตาข่ายข้าวหลามตัดที่ไม่ค่อยมีให้เห็น เป็นเจดีย์สามชั้นที่มีหลังคายื่นยาวออกมาอย่างได้สมดุลกัน ยอดเจดีย์มีฉัตรแบบที่แสดงความเป็นละอองน้ำ เป็นเจดีย์พุทธที่แสดงความเป็นสิ่งก่อสร้างในสมัยกลาง

“โทคุกะวะ อิเอะยะซุ”

แม่ทัพโชกุนคนแรกของตระกูลโทคุกะวะ (ครองตำแหน่ง 1603~1605) เคยรับใช้อิมะกะวะ โยะชิโมะโตะ และหลังจากนั้นผูกสัมพันธ์กับโอะดะ โนะบุนะกะ และคืนดีกับโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ โดยในปีที่ 18 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1590) ถูกให้ไปครอง 8 เมืองด้านตะวันออก (คันโต) และได้เข้าอยู่ในปราสาทเอะโดะ โดยหลังจากที่ฮิเดโยชิเสียชีวิตไป ก็ได้เข้าไปปกครองการเมืองที่ปราสาทฟุชิมิ โดยในปีที่ 5 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1600) ได้ทำศึกและรบชนะอิชิดะ มิซึนะริในการรบเซะคิกะฮะระ ทำให้ได้รับแต่งตั้งเป็นโชกุน (เซอิไทโชกุน) และได้ทำการเปิดรัฐบาลปกครองเอะโดะในปีค.ศ. 1603 หลังจากนั้นไม่นานก็ได้สละตำแหน่งโชกุนให้กับโทคุกะวะ ฮิเดะทะดะ และได้รับเรียกเป็น โอโกะโชะ แม้จะย้ายไปอยู่ที่ซุนปุหลังสละตำแหน่งโชกุนไปแล้วก็ตามในปีค.ศ. 1607 แต่ก็ยังมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องการเมืองที่สำคัญเอง โดยเป็นผู้โค่นล้มตระกูลโทโยโทมิในศึกโอซาก้าโนะจิน และเป็นผู้สร้างฐานการปกครองแบบโชกุนที่สืบทอดกันยาวนานกว่า 260 ปี โดยมีชื่อเรียกหลังจากที่เสียชีวิตแล้วคือ โตโชไดกอนเกน (1542~1616)

“วัดเซซอนจิ”

เป็นวัดในนิกายโซโตที่ตั้งอยู่ในฮิโซะ ตำบลโอโยะโดะ เมืองโยะชิโนะ จังหวัดนารา เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ด้านขวาหากมองมาจากต้นน้ำของแม่น้ำโยะชิโนะ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงสมัยอะสุคะ จนถึงช่วงต้นของสมัยฮะคุโฮ โดยในอดีตมีชื่อเรียกว่า วัดฮิโซะเดระ และในปีที่ 2 ของรัชสมัยโชวะ (ค.ศ. 1927) บริเวณพื้นที่ของวัด "พื้นที่เก่าวัดฮิโซะเดระ" ได้ถูกจัดให้เป็นพื้นที่โบราณทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น โดยมีชื่อเรียกอื่นว่า วัดโยะชิโนะเดระ หรือวัดเกนโคจิ

“โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ”

เป็นแม่ทัพในสมัยอะซุจิโมะโมะยะมะ โดยเริ่มต้นจากการเป็นผู้รับใช้ของโอะดะ โนะบุนะกะ และเสนอชื่อขึ้นเป็นผู้สืบทอดคนแรกหลังจากที่โนะบุนะกะเสียชีวิตในเหตุการณ์ฮอนโนจิโนะเฮน ที่เกิดขึ้นในปีที่ 10 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1582) และสามารถชนะฝ่ายศัตรู ทำให้รวมประเทศได้ โดยฮิเดโยชิได้เริ่มก่อสร้างปราสาทโอซาก้าในปีที่ 11 ของรัชสมัยเทนโช (ค.ศ. 1583) โดยปราสาทดูจากภายนอกมี 5 ชั้นและมี 8 ชั้นด้านใน ที่คู่ควรกับผู้ที่สามารถรวบรวมประเทศให้เป็นหนึ่งได้ และในสมัยนั้นที่เรียกฮิเดโยชิว่าโฮไทโค ก็ถือเป็นสมัยที่วัฒนธรรมโมะโมะยะมะที่สวยงามหรูหราอยู่ในช่วงรุ่งเรือง ทั้งพิธีชงชา และภาพวาดของกลุ่มคะโน

ความสัมพันธ์กับวัดมิอิเดระนั้นถือว่าดี แต่ในช่วงบั้นปลายชีวิต ปีที่ 4 ของรัชสมัยบุนโระคุ (ค.ศ. 1595) ได้มีคำสั่งให้ยึดและปิดวัดมิอิเดระอย่างกะทันหัน และหลังจากฮิเดโยชิเสียชีวิตไปในเดือนสิงหาคม ปีที่ 3 ของรัชสมัยเคโจ (ค.ศ. 1598) ท่านคิตะโนะมังโดะโคะโระ ภรรยาเอกของฮิเดโยชิ ก็ได้เป็นผู้ฟื้นฟูวัดมิอิเดระ

“ปราสาทฟุชิมิ”

ปราสาทที่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิให้สร้างขึ้นบนเขาฮิกะชิฟุชิมิ ในเขตฟุชิมิ เมืองเกียวโต โดยเริ่มสร้างขึ้นในปีที่ 1 ของรัชสมัยบุนโระคุ (ค.ศ. 1592) แต่ได้พังลงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปีค.ศ. 1596 และได้ถูกย้ายไปสร้างที่เขาโคะฮะตะโดยเป็นจุดตรวจผ่านทางเข้าเมืองเกียวโต หลังจากนั้นถูกยุบปราสาทลงโดยรัฐบาลปกครองเอะโดะ และมีการย้ายสิ่งก่อสร้างต่างๆไปยังวัดไดโทะคุจิ วัดนิชิฮองกังจิ ศาลเจ้าโตะโยะคุนิ เป็นต้น มาจนถึงปัจจุบัน

“ฐานวางองค์พระ”

ฐานวางองค์พระ

“ชะคะซังซอนโซ”

ชะคะซังซอนโซ

เป็นลักษณะการจัดวางพระสามองค์(แบบซังซอน) โดยมีองค์พระพุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง และมีพระบริวารอยู่ที่ด้านข้างทั้งซ้ายและขวา โดยพระบริวารที่จะมีให้เห็น เช่น 2 พระโพธิสัตว์ ได้แก่พระมัญชุศรี(มอนจุ)และพระสมันตภัทร(ฟุเกน) , 2 พระโพธิสัตว์ ได้แก่พระไภษัชราช(ยะคุโอ)และพระไภษัสชยสมุทคตะ(ยะคุโจ) , หรือพระอานนท์และพระกัสสป เป็นต้น

“ราวกั้น”

ราวกั้น

เป็นราวจับติดตั้งไว้รอบขอบทางเดินเพื่อป้องกันการพลัดตกลงไปด้านล่าง

“คุมิโมะโน”

คุมิโมะโน

โดยทั่วไปอยู่ข้างบนเสา โดยจะเป็นการประกอบเข้ากันของตัวรองอเสที่เรียกว่ามะสุ และตัวรับน้ำหนักจากต้านบนที่เรียกว่าฮิจิคิ ซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวรองรับอเสที่รองรับจันทัน โดยมีชื่อเรียกอื่นว่า โทะเคียว หรือ มะสุคุมิ

“สามชั้นสไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่าวะโยมิเทะซะคิ”

mitesaki

เมื่อมองจากด้านข้าง จะเห็นโทะเคียวยื่นออกมาด้านนอกสามแถวจากกำแพง

“ฉัตร”

ฉัตร

ส่วนที่ทำจากโลหะที่ติดตั้งไว้ที่ชั้นบนสุดบนยอดเจดีย์ ส่วนหนึ่งของฉัตรจะเป็นคุริน(เก้าห่วง) แต่ก็จะมีการเรียกทั้งหมดของฉัตรว่าคุรินด้วยเหมือนกัน

ช่วงครึ่งแรกของสมัยมุโระมัจจิ